รับข้อเสนอสุดพิเศษ!

ภาพมือของนักบัญชีกำลังตรวจสอบรายงานทางการเงิน บนโต๊ะทำงาน ภ.ง.ด.54

ภ.ง.ด. 54 คืออะไร? ใครต้องยื่นบ้าง? พร้อมช่องทางการยื่นภาษี

Table of Contents

ภ.ง.ด. 54 ที่หลาย ๆ คนอาจเคยได้ยิน หรือ คุ้นหู คืออะไร ? ใครเป็นผู้ที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.54 ? คำนวณแบบไหน? ยื่นช่องทางใดบ้าง? และเกี่ยวอะไรกับ การซื้อ/ขาย/เช่า ? วันนี้ชอบการบัญชีมาไขคำตอบนี้ให้กับคุณ

ภ.ง.ด.54 คืออะไร?

ตามทางกฎหมายของ ภ.ง.ด.54 คือ “การนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลและการจำหน่ายเงินกำไร ตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร ในมาตรา 70 และ 70 ทวิ” 

หรือให้เข้าใจง่ายที่สุดคือ  แบบยื่นแจ้งการหักภาษี ณ ที่จ่าย ของนิติบุคคลที่ตั้งตามกฎหมายของต่างประเทศ และไม่ได้ประกอบกิจการธุรกิจในไทย แต่มีการรับรายได้พึงประเมินมาตรา 40 (2) (3) (4) (5) หรือ (6) ซึ่งจ่ายในประเทศไทย โดยผู้หักภาษีทำการหักจากเงินได้ที่จ่ายออกไป

หากอธิบายแบบที่เข้าใจได้ง่าย ผู้ประกอบการที่อยู่ภายในประเทศไทย และมีการซื้อสินค้าหรือใช้บริการจากนิติบุคคล ที่ถูกจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ เมื่อถึงวันที่คุณจะต้องจ่ายเงินให้กับทางบริษัทที่ไม่ได้ประกอบกิจการในประเทศไทย จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่งให้กับทางกรมสรรพากรไม่เกิน 7 วัน นับจากวันสิ้นเดือน

โดยในแบบ ภ.ง.ด.54 จะระบุถึงภาษีเงินได้ ‘หัก ณ ที่จ่าย’ สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40 ประเภท 2 ถึง 6 หรือการจำหน่ายกำไร ให้กับนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ โดยอัตราในการนำส่งจะอยู่ที่ 10% และ 15% ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของเงินได้

การหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับแบบ ภ.ง.ด.54 จะมีอัตราภาษีที่ได้ระบุเอาไว้ ตามประเภทของเงินได้ ซึ่งถูกแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ

  1. มาตรา 40 ประเภทที่ 2 ถึง 6 มีอัตราการหักภาษี ณ ที่จ่ายอยู่ที่ 15%
  2. มาตรา 40 ประเภทที่ 4 (เงินปันผล) มีอัตราการหักภาษี ณ ที่จ่ายอยู่ที่ 10%

ใครเป็นผู้ที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.54 ?

ผู้ที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.54 เป็นนิติบุคคลที่อยู่ภายในประเทศไทย และต้องตรวจสอบก่อนว่า มีการจ่ายเงินตามมาตรา 70 ที่ระบุถึง เงินได้พึงประเมิน มาตรา 40 ประเภทที่ 2 ถึง 6 ตามที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้หรือไม่ หากเป็นเงินได้นอกเหนือจากประเภทนี้ คุณก็ไม่ต้องยื่นแบบ  ภ.ง.ด.54

  • มาตรา 40 ประเภทที่ 2 เงินได้จากหน้าที่หรือตำแหน่งที่ทำ ถือว่าเป็นการจ้างแบบชั่วคราว เช่น ค่านายหน้า หรือฟรีแลนซ์ เป็นต้น
  • มาตรา 40 ประเภทที่ 3 เงินได้กู๊ดวิลล์ หรือค่าค่าลิขสิทธิ์หรือสิทธิต่างๆ ที่ได้รับในลักษณะเงินรายปี อย่างพินัยกรรมหรือคำพิพากษาจากศาล
  • มาตรา 40 ประเภทที่ 4 เงินได้ดอกเบี้ย (พันธบัตร, เงินฝาก และหุ้นกู้) เงินปันผล และส่วนแบ่งกำไรต่างๆ
  • มาตรา 40 ประเภทที่ 5 เงินได้จากการเช่าทรัพย์สินหรือเป็นค่าเช่า เช่น ค่าเช่าโกดัง หรือที่ดินรวมสิ่งปลูกสร้าง
  • มาตรา 40 ประเภทที่ 6 เงินได้วิชาชีพอิสระ (ไม่รวมฟรีแลนซ์) ที่กฎหมายกำหนด เช่น การบัญชี, วิชากฎหมาย และ แพทย์เป็นต้น

หากมีการตรวจสอบแล้วพบว่า ธุรกิจของคุณตรงตามมาตรา 70 ในประเภทของเงินได้ และ 70 ทวิ ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ โดยหักภาษีจากจำนวนเงินตามอัตราภาษีเงินได้สำหรับบริษัท หลังจากที่คุณทำการจ่ายเงินแล้ว จะต้องเตรียมยื่นแบบ ภ.ง.ด.54 กับทางกรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป หากยื่นออนไลน์ ต้องไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันสิ้นเดือน

ตัวอย่างวิธีการคำนวณ

ตัวอย่าง บริษัท นำเงินรวย จำกัด ที่จัดตั้งอยู่ภายในประเทศไทย ได้มีการติดต่อกับทาง บริษัท จิ๋วซือ จำกัด ที่อยู่ในประเทศจีน เพื่อต้องการเช่าโกดังจัดเก็บสินค้า โดยการเช่าโกดังมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 100,000 บาท

วิธีคิด

  • การเช่าโกดัง เป็นเงินได้ประเภทที่ 5 จึงต้องหัก 15 %
  • 100,000 x 15% = 15,000 บาท

คุณจะต้องหัก 15,000 บาท จาก 100,000 บาทที่ต้องจ่ายให้กับบริษัทที่อยู่ต่างประเทศ เท่ากับว่าทางบริษัท นำเงินรวย จำกัด จะได้รับเงินเป็นจำนวน 85,000 บาท ส่วน 15,000 บาทคุณจะต้องเป็นผู้หักและนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้กับกรมสรรพากรแทนบริษัท จิ๋วซือ จำกัด เพราะเขาไม่ได้อยู่ภายในประเทศไทย* ในทางการบัญชี ค่าความนิยม (Goodwill) เป็นส่วนต่างของมูลค่ากิจการตามบัญชี กับมูลค่าที่ซื้อขายกันจริง โดยส่วนมากบริษัทที่ดำเนินธุรกิจมาเป็นระยะเวลานาน และมีผลประกอบการที่ดี เมื่อขายกิจการก็ย่อมขายได้ในราคาที่สูงกว่ามูลค่าตามบัญชี เนื่องจากที่ภาพลักษณ์ที่ดีเป็น premium ของมูลค่าธุรกิจนั่นเอง

ช่องทางในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.54

  1. สํานักงานสรรพากร สามารถนำไปยื่นได้ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป ตามสถานที่ตั้งและสำนักงานของกรมสรรพากร ที่เปิดให้บริการตามเวลาราชการ
  2. ธนาคารพาณิชย์ไทย กรณีที่คุณอยู่ภายในกรุงเทพฯ สามารถยื่นแบบ ภ.ง.ด.54 ได้ ในระยะเวลาที่กำหนดแบบเดียวกันกับทางสํานักงานสรรพากร
  3. ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต จะให้เวลามากกว่าการยื่นที่สำนักงาน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ผ่านทางเว็บไซต์ของ E-FILING 

เมื่อคุณเป็นผู้ประกอบการที่มีการติดต่อหรือทำธุรกิจกับบริษัทที่อยู่ต่างประเทศ จะต้องมีความรู้พื้นฐานในเรื่องของภาษี เพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร เพราะมีการเสียภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่นเดียวกันกับแบบ ภ.ง.ด.54 ที่นอกจากจะเป็นการหัก ณ ที่จ่ายแทนผู้ประกอบการที่อยู่ต่างประเทศแล้ว จะต้องตรวจสอบให้ดีด้วยว่า เงินได้อยู่ในประเภทที่กำหนดเอาไว้หรือไม่ และต้องมีการใช้อัตราภาษีที่ถูกต้อง

แต่สำหรับใครที่เป็นผู้ประกอบการมือใหม่ และเรื่องของภาษีเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ยาก ไม่สามารถจัดการได้ด้วยตนเอง การเลือกใช้บริการจากสำนักงานบัญชี จึงเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งที่ตอบโจทย์กับธุรกิจของคุณ ไว้ใจเรื่องของภาษีเลือกใช้บริการกับ ชอบการบัญชี ได้เลยนะคะ