รับข้อเสนอสุดพิเศษ!

ภาพมือของชายหนุ่มกำลังกดเครื่องคิดเลข และมีข้อความอยู่ด้านบนว่า ก.พ.ด. 50 คืออะไร? สิ่งที่ต้องทำ และทำไมต้องเช็คให้ถูกต้อง

ภ.ง.ด.50 คืออะไร? สำคัญอย่างไร และทำไมต้องยื่นให้ถูกต้อง – คู่มือภาษีสำหรับธุรกิจ

Table of Contents

การยื่นแบบฯ ภ.ง.ด.50 เป็นเรื่องสำคัญที่ทุกธุรกิจต้องให้ความใส่ใจ เนื่องจากเป็นแบบฟอร์ม ที่ใช้ในการรายงานภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล การทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ภ.ง.ด.50 ไม่เพียงแค่ช่วยให้ธุรกิจของคุณปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายภาษีได้อย่างถูกต้อง แต่ยังช่วยป้องกันปัญหาทางกฎหมายและค่าปรับที่อาจเกิดขึ้นได้ ในบทความนี้ เราจะมาอธิบายว่า ภ.ง.ด.50 คืออะไร? สำคัญอย่างไร? และทำไมต้องทำการยื่นแบบฯ ภ.ง.ด.50 เพื่อให้ถูกต้องตามหน้าที่ จึงเป็นสิ่งที่ทุกธุรกิจไม่ควรมองข้าม

ภ.ง.ด.50 คืออะไร?

ภ.ง.ด.50 คืออะไร?

ภ.ง.ด.50 หรือ “แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล” เป็นแบบฟอร์มที่ใช้ในการยื่นภาษีของนิติบุคคลในประเทศไทยหรือบริษัทต่างชาติ โดยแบบฟอร์มนี้ใช้เพื่อรายงานรายได้และการดำเนินงานทางการเงินของบริษัทต่อกรมสรรพากร ภายในเวลาที่กำหนด โดย ภ.ง.ด.50 จะต้องยื่นทุกปีหลังจากสิ้นสุดรอบบัญชีภายใน 150 วัน (ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี) โดยไม่ว่าบริษัทนั้นจะมีรายได้หรือไม่ก็ตาม

ภ.ง.ด.50 มีความสำคัญยังไง?

ภ.ง.ด.50 เป็นแบบฟอร์มที่มีความสำคัญอย่างมากในการดำเนินกิจการของธุรกิจหรือนิติบุคคล โดยเฉพาะในเรื่องของการประมวลผลภาษีเงินได้ มันเป็นเอกสารที่ใช้ในการรายงานรายได้และรายได้ที่ได้รับการหักภาษีของบริษัทหรือนิติบุคคลต่าง ๆ ซึ่งมีความสำคัญดังนี้

1.เป็นข้อกำหนดของกฎหมายภาษี 

การยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายภาษีของประเทศ หากไม่ปฏิบัติตามอาจเสียค่าปรับหรือเผชิญกับความเสี่ยงทางกฎหมายอื่น ๆ ได้

2.การจัดการทางการเงิน
การรายงานรายได้และรายได้ที่ได้รับการหักภาษีจะช่วยให้ธุรกิจสามารถตรวจสอบสถานะการเงินของตนเองได้ และยังวางแผนทางการเงินในอนาคต

3.การป้องกันปัญหาทางกฎหมาย

การยื่นแบบฯ ภ.ง.ด.50 ให้ถูกต้องจะช่วยลดความเสี่ยงในการเผชิญกับค่าปรับหรือความผิดพลาดในการรายงานภาษี

4.เพิ่มความน่าเชื่อถือของกิจการต่อสถาบันการเงิน

การยื่นแบบฯ ภ.ง.ด.50 ให้ถูกต้องและเรียบร้อยจะช่วยสร้างความเชื่อถือจากสถาบันการเงิน ซึ่งอาจมีผลต่อการเข้าถึงสินเชื่อหรือการทำธุรกรรมทางการเงินอื่น ๆ ในอนาคต

ใครบ้างมีหน้าที่ต้องยื่น ภ.ง.ด.50

ตามกฎหมายภาษีเงินได้นิติบุคคล พ.ศ. 2531 นิติบุคคลทุกประเภทต้องยื่น ภ.ง.ด.50 ต่อกรมสรรพากรภายใน 150 วัน นับตั้งแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี โดยไม่คำนึงว่าจะมีกำไรหรือขาดทุนก็ตาม

ตัวอย่างนิติบุคคลที่ต้องยื่น ภ.ง.ด.50 ได้แก่

รายละเอียดเอกสารแนบสำหรับยื่น ภ.ง.ด.50 มีอะไรบ้าง?

เมื่อยื่นแบบฯ ภ.ง.ด.50 จะต้องแนบเอกสารที่สำคัญเพื่อยืนยันข้อมูลที่ระบุในเอกสารที่เกี่ยวข้องกับรายได้และค่าใช้จ่ายตามกฎหมาย โดยเอกสารที่จะต้องแนบพร้อมกับแบบ ภ.ง.ด.50 มีดังนี้ 

  1. ใบแนบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
  2. บัญชีงบดุล
  3. บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน พร้อมทั้งรายละเอียดประกอบ
  4. งบกระแสเงินสด
  5. รายงานประจำปี กรณีเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการวิสาหกิจ เพื่อสังคมตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
  6. รายงานของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี
  7. รายงานประจำปีสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันตามมาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร (Disclosure Form)
  8. อื่นๆ ที่นอกเหนือจาก 1. ถึง 7. (ระบุ) เช่น แบบแสดงรายละเอียดการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีของกิจการศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) ตามที่แนบท้ายประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 13)

ดาวน์โหลดฟอร์ม ภ.ง.ด.50

ตัวอย่างเอกสารสำหรับแม่ค้าออนไลน์ ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50

  • แบบ ภ.ง.ด.51 ที่ยื่นไปแล้วในปีเดียวกัน
  • หนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย  
  • งบการเงิน (งบกำไรขาดทุน งบแสดงฐานะการเงิน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ และหมายเหตุประกอบงบการเงิน)
  • รายงานผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

** หมายเหตุ เจ้าของธุรกิจจะต้องเก็บรักษาเอกสารไว้อย่างน้อยเป็นเวลา 5 ปี โดยเฉพาะเอกสารที่เกี่ยวข้องในการทำธุรกิจต้องนำมาเก็บไว้เป็นหลักฐานเสมอ แม้จะมีการยื่นนำส่งภาษีไปแล้วก็ตาม**

หากไม่ยื่น ภ.ง.ด.50 ตามกำหนดจะโดนโทษทางกฎหมายอย่างไร ?

ในกรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ชำระภาษีภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี จะต้องคำนวณ และชำระเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน (เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน) ของเงินภาษีที่ต้องชำระเพิ่มเติมตาม
ทั้งนี้ ให้คำนวณ เงินเพิ่มเป็นรายเดือนนับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบฯ จนถึง วันยื่นแบบฯ และชำระภาษี แต่ไม่เกินจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระเพิ่มเติม

หมายเหตุ : กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นแบบฯ ตามมาตรา 17 ประกอบมาตรา 68 แห่งประมวลรัษฎากร และไม่ยื่นบัญชี ตามมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว อาจต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 4,000 บาท (มาตรา35 แห่งประมวลรัษฎากร)

จากบทความข้างต้น จะเห็นได้ว่าการยื่นแบบฯ ภ.ง.ด.50 นั้นมีความสำคัญอย่างมาก อีกทั้งยังเป็นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลที่สำคัญที่ผู้ประกอบการในประเทศไทยต้องยื่นต่อกรมสรรพากร การยื่น ภ.ง.ด.50 ให้ถูกต้องและครบถ้วนไม่เพียงแต่ช่วยป้องกันการเสียค่าปรับและการตรวจสอบภาษีย้อนหลัง แต่ยังช่วยให้ธุรกิจมีการวางแผนการเงินที่มีประสิทธิภาพและสร้างความเชื่อถือให้กับผู้ลงทุนและคู่ค้าทางธุรกิจ

แหล่งข้อมูล : กรมสรรพากร