รับข้อเสนอสุดพิเศษ!

นักบัญชีสองคนกำลังตรวจสอบเอกสารทางบัญชีและใช้เครื่องคิดเลข

เงินได้ตัวไหนบ้างที่ต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ?

Table of Contents

เงินได้อะไรบ้างที่ต้องเสียภาษี?

ตามกฎหมาย เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เรียกว่า “เงินได้พึงประเมิน” หมายถึง เงินได้ของบุคคลใดๆ หรือหน่วยภาษีใดข้างต้นที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ของปีใดๆ หรือเงินได้ ที่เกิดขึ้นในปีภาษี ได้แก่

1. เงิน เครื่องหมายปีกกา  

2. ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน ที่ได้รับจริง ที่ได้รับจริง(เกณฑ์เงินสด)

3. ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน  

4. เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้  

5. เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกำหนด

สำหรับผู้ที่ต้องยื่นภาษีในประเทศไทย มีการพิจารณาอยู่ 2 หลักเกณฑ์ คือ “แหล่งเงินได้” และ “ถิ่นที่อยู่” โดยแหล่งที่มาของเงินได้ สามารถแบ่งเป็นเงินได้จากแหล่งในประเทศและนอกประเทศ เงินได้จากแหล่งต่างๆ นี้จะต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ ให้พิจารณา ดังนี้

1. เงินได้เกิดจากแหล่งในประเทศ หมายถึง เงินได้ที่เกิดขึ้น หรือเป็นผลสืบเนื่องจากมี

1.1 หน้าที่งานที่ทำในประเทศไทย หรือ
1.2 กิจการที่ทำในประเทศไทย หรือ
1.3 กิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือ
1.4 ทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย (ดอกเบี้ย เงินปันผล ค่าเช่า ฯลฯ
* เงื่อนไข ผู้มีเงินได้เกิดจากแหล่งในประเทศนี้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามที่ประมวลรัษฏากร กำหนดไว้เสมอเว้นแต่จะมีข้อยกเว้นตามกฎหมาย ทั้งนี้ ไม่ว่าเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วนั้น จะจ่ายในหรือนอกประเทศ และไม่ว่าผู้มีเงินได้นั้นจะเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยหรือไม่ก็ตาม)

2. เงินได้เกิดจากแหล่งนอกประเทศไทย  หมายถึง เงินได้ที่เกิดขึ้นหรือเป็นผลสืบเนื่องจากมี

2.1 หน้าที่งานที่ทำในต่างประเทศ หรือ
2.2 กิจการที่ทำในต่างประเทศ หรือ
2.3 ทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ

* เงื่อนไข ผู้มีเงินได้เกิดจากแหล่งนอกประเทศในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วจะต้องเสียภาษีเงินได้ ในประเทศไทยก็ต่อเมื่อเข้าองค์ประกอบทั้ง 2 ประการ ดังต่อไปนี้
(1) ผู้มีเงินได้เป็น ผู้อยู่ในประเทศไทย ในปีภาษีนั้นชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะเวลา รวมทั้งหมดถึง 180 วัน และ
(2) ผู้มีเงินได้ นำเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีนั้นด้วย

ในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาบางกรณี ถ้าเกี่ยวข้องกับบุคคลของบางประเทศที่มี อนุสัญญาภาษีซ้อน* หรือความตกลงเพื่อป้องกันการเก็บภาษีซ้ำซ้อนกับประเทศไทยจำเป็นต้องพิจารณาถึงความ ตกลงหรืออนุสัญญาว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยได้ทำความตกลงไว้ด้วย

ตัวอย่าง นาย ค มีรายได้เงินปันผลและกำไรจากการลงทุนในหุ้น ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 2565 ถูกหักภาษีเงินปันผล 10% ในปี 2565 นาย ค อาศัยอยู่ในประเทศไทยเกิน 180 วัน และนำเงินทั้งส่วนเงินปันผลและกำไรจากการขายหุ้นเข้ามาในปี 2567 เข้าข่ายจะต้องเสียภาษีทั้งส่วนของเงินปันผลและกำไรจากการขายหุ้น แนะนำให้เก็บเอกสารที่ถูกหักภาษีไปแล้ว เพื่อนำมาเครดิตภาษีในประเทศไทย 

ที่มา : https://www.rd.go.th/552.html

#ภาษี #ภาษีเงินได้ #บุคคลธรรมดา #ยื่นภาษี #ยื่นภาษีออนไลน์

ทางสำนักงานบัญชีคุณภาพ เรามีบริการดูแลคุณลูกค้าทางด้านบัญชีและภาษีแบบครบวงจร

✅ รับทำบัญชี และยื่นภาษี/รายเดือน

รับจดทะเบียนบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทะเบียนพาณิชย์

✅ แก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารของธุรกิจ

✅ ปิดงบการเงินประจำปี

✅ ตรวจสอบบัญชี

✅ ให้คำปรึกษาและวิเคราะห์วางแผนทางด้านบัญชี และภาษีอากร

สอบถามข้อมูลและขอรับคำปรึกษาได้ที่

Inbox : m.me/ChobAccounting

📱 โทร: 094-1594561, 098-8896262

🖥️ เว็บไซต์: https://chobaccounting.co.th/

✅ Line OA: @chobaccounting

หรือ คลิ๊ก https://lin.ee/VY2jgnO

▶️ Facebook : https://www.facebook.com/CHOBAcct

📷 Tiktok : https://www.tiktok.com/@chobaccouting_online

Youtube : https://www.youtube.com/@ChobAccounting

สำนักงานตั้งอยู่ที่ บริษัท ชอบการบัญชี จำกัด เลขที่ 517/89

ถนน มิตรภาพ-หนองคาย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง นครราชสีมา 30000

เปิดทำการทุกวันจันทร์ – วันเสาร์

เวลา 08.00 – 17.00 น.

( หยุดวันอาทิตย์และนักขัตฤกษ์ )