รับข้อเสนอสุดพิเศษ!

ภ.ง.ด.3 คืออะไร สำคัญอย่างไร รู้จักภาษีก่อนยื่น

ใกล้ถึงเวลาที่ใครหลายคนต้องเผชิญกับการยื่นภาษี แล้วพอพูดถึงภาษี หลายคนก็มักจะนึกถึงเอกสารมากมาย รวมถึง “ภ.ง.ด.” ที่มีทั้งแบบ 1, 2, 3 บอกเลยว่าชวนปวดหัวไม่น้อย

วันนี้เราจะพาไปเจาะลึกกับ “ภ.ง.ด.3” แบบเข้าใจง่าย ๆ ว่าคืออะไร สำคัญอย่างไร และใครบ้างที่ต้องยื่น มาทำความรู้จักกับภาษีให้ดี ก่อนยื่นภาษีแบบสบายใจ

ภ.ง.ด.3 คืออะไร?

ภ.ง.ด.3 คือ แบบที่ใช้สำหรับการยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ซึ่งผู้รับเงินเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือพูดง่าย ๆ คือ แบบยื่นแจ้งการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่บริษัทเรา (นิติบุคคล) ได้หักจากเงินค่าจ้าง/ค่าบริหารที่จ่ายให้กับบุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้พึงประเมินประเภท 40 (5) – 40 (8) โดยบริษัทจะต้องนำส่งภาษีที่หักเอาไว้ให้แก่กรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

ใครบ้างที่ต้องยื่น ภ.ง.ด.3

ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามแบบ ภ.ง.ด.3 คือ ผู้จ่ายเงินได้ให้แก่ผู้รับซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 

ตัวอย่างอาชีพที่ต้องยื่น ภ.ง.ด.3

คือคนที่จ่ายเงินให้กับคนอื่นๆ ที่มีรายได้ตามนี้ 

1. เงินได้จากการให้เช่า 

  • ค่าเช่าบ้าน ค่าเช่าคอนโด ค่าเช่าที่ดิน อะไรแบบนี้เลยค่ะ
  • เงินที่ได้จากการผิดสัญญาเช่าซื้อ เช่น ยึดรถ ยึดบ้าน เพราะคนเช่าไม่จ่ายเงิน
  • เงินที่ได้จากการผิดสัญญาซื้อขายแบบผ่อน เช่น ยึดของที่ขายไป เพราะคนซื้อไม่จ่ายเงิน

2. เงินได้จากวิชาชีพอิสระ 

  • เงินที่ได้จากการทำงานอิสระ เช่น ทนายความ หมอ วิศวกร สถาปนิก นักบัญชี ศิลปิน ฯลฯ

3. เงินได้จากการรับเหมา 

  • เงินที่ได้จากการรับเหมาก่อสร้าง ที่ต้องจ่ายค่าวัสดุเองด้วย ไม่ใช่แค่ค่าแรงอย่างเดียว

4. เงินได้จากธุรกิจอื่นๆ 

  • เงินที่ได้จากการทำธุรกิจต่างๆ เช่น ค้าขาย ผลิตสินค้า ขนส่ง ฯลฯ

 ภ.ง.ด.3 ต่างจากแบบอื่นๆอย่างไร (ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.91 , ภ.ง.ด.53)

ภ.ง.ด.3 คือ แบบยื่นแจ้งการหักภาษี ณ ที่จ่าย ของนิติบุคคล ที่ทำธุรกรรมกับบุคคลธรรมดา ที่เจ้าของธุรกิจ (นิติบุคคล) มีหน้าที่หักออกจากค่าจ้างก่อนจ่ายเงิน

ภ.ง.ด.1 คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ 40 (2) เช่น เงินเดือน ค่าเบี้ยเลี้ยง โบนัส เป็นต้น โดยยื่นแบบเฉพาะพนักงานที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่านั้น

ภ.ง.ด.91 คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สําหรับคนที่มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) ประเภทเดียว ที่ได้จากการจ้างงาน ต้องยื่นภายใน 31 มีนาคมของทุกปี

ภ.ง.ด.53 เป็นแบบยื่นรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย โดยผู้รับเงินซึ่งถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นนิติบุคคลที่มีหน้าที่ในการเสียภาษีเงินได้

ความสำคัญของการยื่นภาษี ภ.ง.ด.3

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือ กลไกการจัดเก็บภาษีเงินได้ล่วงหน้า โดยกำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้ (เช่น บริษัท ห้างร้าน) มีหน้าที่หักภาษีจากเงินได้ที่จ่ายให้แก่ผู้รับ (เช่น พนักงาน คู่ค้า) ในอัตราร้อยละที่กฎหมายกำหนดไว้ ณ เวลาที่จ่ายเงินได้นั้น ๆ

ตัวอย่างเช่น เมื่อบริษัทจ้างฟรีแลนซ์ บริษัทมีหน้าที่หักภาษีจากค่าจ้างที่จ่ายให้แก่ฟรีแลนซ์ในอัตราที่กำหนด และนำส่งเงินภาษีดังกล่าวให้แก่กรมสรรพากร

ทั้งนี้ เงินภาษีที่หักไว้ ไม่ใช่เงินของบริษัท แต่เป็นเงินภาษีของผู้รับที่บริษัทมีหน้าที่รวบรวมและนำส่งให้แก่กรมสรรพากรแทน

การหักภาษี ณ ที่จ่าย ช่วยให้รัฐบาลสามารถจัดเก็บภาษีได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ผลเสียของการไม่ยื่นภาษี หรือ ยื่นภาษีเกินกำหนด

1. ถ้าบริษัทหรือคนที่จ่ายเงินให้เรา ไม่ยอมหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือหักไปแล้วแต่ไม่ครบ แบบนี้ทั้งบริษัทและตัวเราต้องรับผิดชอบร่วมกัน โดยต้องจ่ายภาษีที่ขาดไปให้ครบถ้วน แต่ถ้าบริษัทหักภาษีไว้แล้วแต่ยังไม่เอาไปจ่ายให้กรมสรรพากร อันนี้บริษัทต้องรับผิดชอบ

2. ถ้าบริษัทไม่ยอมเอาภาษีที่หักไว้ไปจ่ายให้กรมสรรพากรตามเวลาที่กำหนด แบบนี้บริษัทจะโดนปรับเงินเพิ่มด้วยนะ คิดเป็นเดือน เดือนละ 1.5% ของเงินภาษีที่ต้องจ่าย นับตั้งแต่วันที่ต้องยื่นภาษีไปจนถึงวันที่จ่ายจริง ยกเว้นว่าจะมีเหตุสุดวิสัยจริงๆ ถึงจะโดนแค่ค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท

3. ใครที่ตั้งใจไม่ยื่นภาษีเพื่อเลี่ยงภาษี อันนี้โดนหนักเลยค่ะ อาจจะโดนจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

วิธีคำนวณภาษีอย่างง่าย

อัตราภาษี หัก ณ ที่จ่าย ของประเภทเงินได้ที่จะต้องถูกหักที่พบบ่อย ๆ

ค่าเช่า อาคาร บ้าน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง5%
เงินได้จากวิชาชีพอิสระตาม หรือ ฟรีแลนซ์ เฉพาะใน 6 วิชาชีพ 
ได้แก่ ผู้ประกอบโรคศิลปะ ทนายความ วิศวกร สถาปนิก นักบัญชี และประณีตศิลป์
3%
ค่าจ้างทำของ3%
ค่าแสดงให้แก่นักแสดงสาธารณะ5%
ค่าโฆษณา2%
ค่าขนส่ง1%
รางวัล ส่วนลด จากการส่งเสริมการขาย3%
รางวัล จากการแข่งขัน ชิงโชค5%

ขั้นตอนการยื่นภาษี ภ.ง.ด.3

ช่องทางการยื่นภาษี

คู่มือการยื่นภาษี แบบออนไลน์

วิธีเขียน ภ.ง.ด.3 

ใน ภงด3 คือจะมีอยู่ 2 ใบคือ ใบหน้า ภงด3 และใบแนบ ภงด3 ซึ่งดูตัวอย่างได้ดังนี้

ส่วนที่ 1 : กรอกรายละเอียดเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ชื่อ ที่อยู่ เดือน ปี ที่ยื่นเสียภาษี และให้ติ๊กว่าเป็นการยื่นแบบปกติ หรือยื่นเพิ่มเติม

ส่วนที่ 2 : ให้ติ๊กว่านำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามกฎหมายใด และให้สรุปจำนวนรายที่หัก และจำนวนแผ่นที่นำส่ง

ปล. มาตรา 3 เตรส (อ่านว่า สาม-เต-ระ-สะ) – ส่วนใหญ่แล้วการหัก ณ ที่จ่ายทั่วๆไปจะเป็นไปตามมาตรา 3 เตรส

ลองดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรานี้ได้ครับ : การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร

มาตรา 48 ทวิ – ให้องค์การของรัฐบาลเสียภาษีเงินได้แทนผู้ขายสินค้าทอดหนึ่งทอดใดหรือทุกทอดที่ซื้อสินค้าขององค์การของรัฐบาล ตามวิธีการ อัตรา และประเภทสินค้าตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ทั้งนี้เฉพาะสำหรับเงินได้จากการขายสินค้านั้น

ดูรายละเอียเพิ่มเติมที่ : มาตรา 38-64

มาตรา 50 (3) (4) (5) – ให้บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคลผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมินตามวิธีดังต่อไปนี้

(3) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5) และ (6) ที่จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้

(4) นอกจากกรณีตาม (5) ในกรณีผู้จ่ายเงินตามมาตรานี้เป็นรัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น ซึ่งจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5)(6) (7) หรือ (8) แต่ไม่รวมถึงการจ่ายค่าซื้อพืชผลทางการเกษตรให้กับผู้รับรายหนึ่ง ๆ มีจำนวนรวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป แม้การจ่ายนั้นจะได้แบ่งจ่ายครั้งหนึ่งๆ ไม่ถึง 10,000 บาทก็ดี ให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 1 ของยอดเงินได้พึงประเมิน แต่เฉพาะเงินได้ในการประกวดหรือแข่งขัน ให้คำนวณหักตามอัตราภาษีเงินได้

(5) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) เฉพาะที่จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งขายอสังหาริมทรัพย์ ให้คำนวณหักดังต่อไปนี้

(ก) สำหรับอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา ให้คำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48(4) (ก) เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใด ให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้น
(ข) สำหรับอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่นนอกจาก (ก) ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48(4) (ข) เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใด ให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้น

ดูรายละเอียเพิ่มเติมที่ : มาตรา 38-64

ส่วนที่ 3 : ให้กรอกยอดสรุปภาษี ตามรายละเอียดดังนี้

  1. ยอดเงินได้ทั้งสิ้น (จำนวนเงินที่จ่ายทั้งสิ้น)
  2. ยอดภาษีที่นำส่งทั้งสิ้น
  3. เงินเพิ่ม (ถ้ามี)
  4. ยอดภาษีที่นำส่งทั้งสิ้นและเงินเพิ่ม

ส่วนที่ 4 : ลายเซ็นผู้ที่นำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ใบแนบ ภงด3 คือ

ใบนี้จะให้กรอกรายละเอียดการหัก ณ ที่จ่ายเป็นรายบุคคลโดยจะต้องกรอกข้อมูลดังนี้

  1. เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย
  2. ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ ของผู้ที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย
  3. วันเดือนปี ที่จ่าย
  4. ประเภทเงินได้พึงประเมินที่จ่าย
  5. อัตราภาษีร้อยละ
  6. จำนวนเงินที่จ่ายรวม
  7. จำนวนเงินที่หักรวม
  8. ลายเซ็นผู้ที่นำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย

การเอาข้อมูลจากหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ที่หักจากบุคคลธรรมดา มาใส่ใน ใบแนบ ภ.ง.ด.3 โดยใส่ชื่อ-นามสกุล เลขประจำตัวบัตรประชาชน ที่อยู่ วันเดือนปีที่ออกหนังสือฉบับนี้ ประเภทของเงินได้ (เช่น ค่าจ้าง ค่าบริการ ค่าเช่า) อัตราภาษีที่หัก จำนวนเงินที่จ่าย และภาษีที่เก็บจากเขามา

// ตัวอย่างการลงข้อมูลในใบแนบ ภ.ง.ด.3 //นำข้อมูลจากหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ที่หักจากบุคคลธรรมดา มาใส่ใน ใบแนบภ.ง.ด.3 โดยใส่ชื่อ-นามสกุล เลขประจำตัวบัตรประชาชน ที่อยู่ วันเดือนปีที่ออกหนังสือฉบับนี้ ประเภทของเงินได้ (เช่น ค่าจ้าง ค่าบริการ ค่าเช่า) อัตราภาษีที่หัก จำนวนเงินที่จ่าย และภาษีที่เก็บจากเขามา

ตัวอย่างการลงข้อมูลในใบแนบ ภ.ง.ด.3

ตัวอย่างการลงข้อมูลในใบแนบภ.ง.ด.3

ส่วน ใบภ.ง.ด.3 ให้ใส่ข้อมูลของกิจการของเรา เดือนที่จ่าย (เช่น ส่งของรอบเดือนมกราคมก็ใส่เครื่องหมายลงช่องมกราคม) ใส่รายละเอียดว่ามีใบแนบมากี่ใบ ยอดรวมของเงินได้ และยอดรวมของภาษีเวลานำส่งกรมสรรพากร หากนำส่งเฉพาะภาษี หัก ณ ที่จ่าย ของบุคคลธรรมดา จะมีเอกสาร ภ.ง.ด.3 (ใบปะหน้า) พร้อมใบแนบ ภ.ง.ด.3 (สำหรับลงรายละเอียด) ถ้าหากนำส่งเฉพาะภาษีหัก ณ ที่จ่ายของนิติบุคคล โดยบริษัทจะต้องนำส่งภาษีที่หักเอาไว้ให้แก่กรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

ข้อมูลจาก : กรมสรรพากร

ภ.ง.ด.2 คืออะไร มีไว้ทำอะไร? มาไขข้อข้องใจเรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ภ.ง.ด.2 คืออะไร มีไว้ทำอะไร?

ภาษี… คำพูดสั้นๆ ที่ชวนให้หลายคนกุมขมับ เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ซับซ้อน และสำคัญที่ต้องทำให้ถูกต้อง 

คำถามคือ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าต้องทำอย่างไรบ้าง? หนึ่งในกุญแจสำคัญที่ช่วยไขข้อข้องใจเรื่องภาษี นั่นก็คือ “แบบแสดงรายการภาษี” หรือที่เรารู้จักกันในชื่อย่อๆ ว่า “ภ.ง.ด.” นั่นเอง และหนึ่งในแบบ ภ.ง.ด. ที่สำคัญมากๆ ก็คือ ภ.ง.ด.2

แล้ว ภ.ง.ด.2 คืออะไร? มีไว้ทำอะไร? ผู้ใดมีหน้าที่หัก ณ ที่จ่าย? และมีวิธีวิธีคำนวณหักภาษีเงินได้ณ ที่จ่ายอย่างไร? ชอบการบัญชีขอนำบทความนี้จะพาคุณไปไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ ภ.ง.ด.2 อย่างละเอียด เข้าใจง่าย พร้อมทั้งแนะนำวิธีการเตรียมตัวก่อนยื่นภาษี มาฝากกันค่ะ

ภ.ง.ด.2 คืออะไร? ผู้มีหน้าที่หัก ณ ที่จ่ายคือใคร?

ภ.ง.ด.2 คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่นิติบุคคล (บริษัท ห้างหุ้นส่วน สมาคม มูลนิธิ ฯลฯ) ต้องยื่นต่อกรมสรรพากร กรณีมีการจ่ายเงินได้ประเภท 40(3) และ 40(4) ให้แก่บุคคลอื่นและชำระภาษีภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

ตัวอย่างการคำนวณ ภ.ง.ด.2

หากบริษัทมีการจ่ายเงินปันผลให้แก่นาย A ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำนวน 100,000 บาท บริษัทก็จะต้องหัก ณ ที่จ่าย 10% ตามกฎหมายสำหรับเงินปันผลจ่าย ดังนั้น ทางบริษัทจึงต้องจ่ายเงินให้นาย A เพียง 90,000 บาท ส่วนที่เหลือ 10% จำนวน 10,000 บาทนั้นจะถูกหักไว้ และนำส่งกรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

เงินได้ประเภท 40(3) และ 40(4) คืออะไร?

เงินได้ประเภท 40(3) หมายถึง เงินได้พึงประเมินที่ได้มาในรูปแบบของ

  • ค่าลิขสิทธิ์: ค่าตอบแทนที่ได้รับจากการอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ในงานอันมีลิขสิทธิ์ เช่น เพลง หนังสือ ภาพยนตร์
  • ค่าตอบแทนทรัพย์สินทางปัญญา: ค่าตอบแทนที่ได้รับจากการถ่ายทอดกรรมสิทธิ์หรือสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา เช่น สิ่งประดิษฐ์ เครื่องหมายการค้า
  • ค่า Goodwill: ค่าตอบแทนที่ได้รับจากการซื้อกิจการ โดยมูลค่าเกินกว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิที่แสดงในงบดุล

เงินได้ประเภท 40(4) หมายถึง เงินได้พึงประเมินที่ได้มาในรูปแบบของ

  • ดอกเบี้ยเงินฝาก: ดอกเบี้ยที่ได้รับจากเงินฝากธนาคาร สหกรณ์ หรือสถาบันการเงินอื่นๆ
  • ดอกเบี้ยพันธบัตร: ดอกเบี้ยที่ได้รับจากการลงทุนในพันธบัตร
  • ดอกเบี้ยตั๋วเงิน: ดอกเบี้ยที่ได้รับจากการถือครองตั๋วเงิน
  • เงินปันผล: เงินที่บริษัทจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นจากผลกำไร
  • เงินส่วนแบ่งกำไร: เงินที่ห้างหุ้นส่วนจ่ายให้แก่หุ้นส่วนจากผลกำไร

วิธีคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

ให้คำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ทุกคราวที่จ่าย (โดยไม่ให้หักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน) ตามอัตราภาษีเงินได้เว้นแต่

  1. เงินได้ดังต่อไปนี้ ให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้

(1) การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา40(3) (4) ดังกล่าวที่จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย

(2) ดอกเบี้ยพันธบัตร

(3) ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์สำหรับเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรซึ่งผู้มีเงินได้ได้รับรวมกันทั้งสิ้น เกิน 20,000 บาท ตลอดปีภาษีนั้น (ต้องหัก ณ ที่จ่ายจากดอกเบี้ยรับทั้งสิ้น) ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทประจำสำหรับเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรและสหกรณ์

(4) ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน0ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ดอกเบี้ยที่ได้จากสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม เช่น บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เป็นต้น

(5) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วน หรือโอนหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้ เฉพาะที่ตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน

(6) ผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก โดยให้ถือว่าผู้ออกตั๋วเงิน ผู้ออกตราสารแสดงสิทธิในหนี้หรือนิติบุคคลผู้โอนตั๋วเงินหรือตราสารดังกล่าว เป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน กรณีผู้จ่ายเงินได้มิใช่เป็นนิติบุคคล และจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ก) ที่มิใช่เงินได้ตามที่ระบุใน (2) ถึง (6) ดังกล่าว ข้างต้น ให้กับผู้รับซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย (อยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะเวลารวมกันถึง 180 วันในปีภาษี) ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย

  1. เงินได้ที่เป็นเงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร หรือประโยชน์อื่นใดฯ ตามมาตรา 40(4) (ข) ให้คำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 10.0 ของเงินได้

ช่องทางการยื่นแบบ ภ.ง.ด.2 มีอะไรบ้าง?

ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลสามารถยื่นแบบ ภ.ง.ด.2 แสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายได้สะดวก รวดเร็ว ตรงต่อเวลา ผ่านช่องทางดังต่อไปนี้

1. ยื่นแบบ ภ.ง.ด.2 ผ่านอินเทอร์เน็ต

  • สะดวก รวดเร็ว ยื่นได้ทุกที่ทุกเวลา ผ่านระบบ e-Filing ของกรมสรรพากร https://efiling.rd.go.th/
  • รองรับทั้งแบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
  • กรณีเป็นนิติบุคคล ต้องสมัครใช้บริการ e-Filing for Business เพิ่มเติม
  • รองรับการชำระภาษีผ่านระบบ PromptPay

2. ยื่นแบบ ภ.ง.ด.2 ได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ทุกแห่งทั่วประเทศ

วิธีการกรอกเอกสาร ภ.ง.ด.2

ตามที่ได้กล่าวข้างต้น ภ.ง.ด. 2 เป็นแบบนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้ประเภท 40(3) และ 40(4) ซึ่งมีวิธีการในการกรอกแบบดังต่อไปนี้

แบบ ภ.ง.ด. 2 หน้าที่ 1

ส่วนที่ 1 : ให้กรอกเลขผู้เสียภาษี รายละเอียดชื่อ ที่อยู่ของบริษัท เดือน ปีภาษีที่ยื่นแบบ และให้คลิกว่าเป็นการยื่นแบบปกติ หรือยื่นแบบเพิ่มเติม

ส่วนที่ 2 : ให้คลิกใบแนบของ ภงด 2 ที่ยื่นนั้นมีจำนวนกี่แผ่น

ส่วนที่ 3 : ให้เขียนรายละเอียด จำนวนราย จำนวนเงินได้ที่จ่ายทั้งสิ้น และจำนวนเงินภาษีที่นำส่งทั้งสิ้น

ส่วนที่ 4 : ให้เซ็นโดยผู้นำรับผิดชอบนำส่งหัก ณ ที่จ่าย

แบบ ภ.ง.ด. 2 หน้าที่ 2

ส่วนที่ 1 : ให้กรอกรายละเอียดเลขประจำตัวผู้เสียภาษี และให้ติ๊กว่าเงินได้ที่จ่ายเป็นเงินได้ประเภทใด ดังนี้

  • เงินได้ตามมาตรา 40(3) ค่าแห่งลิขสิทธิ์ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ และอื่นๆ
  • เงินได้ตามมาตรา 40(4)ก ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยตั๋วเงิน และอื่นๆ
  • เงินได้ตามมาตรา 40(4)ข เงินปันผล และอื่นๆ
  • เงินได้ตามมาตรา 40(4)ช เงินผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น และอื่นๆ

ส่วนที่ 2 : ให้กรอกรายละเอียดผู้ที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย โดยให้กรอกเลขผู้เสียภาษี ชื่อ-นามสกุล ผู้ถูกหัก ณ ที่จ่าย วันเดือนปีที่จ่าย จำนวนเงินที่จ่าย จำนวนเงินหักภาษี ณ ที่จ่าย

ส่วนที่ 3 : ให้เซ็นโดยผู้นำรับผิดชอบนำส่งหัก ณ ที่จ่าย

สามารถดาวน์โหลดแบบ ภ.ง.ด. 2 ได้ที่ : กรมสรรพากร

กรณีไม่ยื่น ภ.ง.ด.2 ตามกำหนด จะมีโทษปรับอะไรบ้าง?

1.ถ้าผู้จ่ายเงินซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายมิได้หักและนำเงินส่งหรือได้หักและนำเงินส่งแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง ผู้จ่ายเงินต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่งหรือตามจำนวนที่ขาดไป แล้วแต่กรณี

ในกรณีที่ผู้จ่ายเงินได้หักภาษีไว้แล้ว ให้ผู้มีเงินได้ซึ่งต้องเสียภาษีพ้นความรับผิดที่ต้องชำระเงินภาษีเท่าจำนวนที่ผู้จ่ายเงินได้หักไว้และให้ผู้จ่ายเงินรับผิดชำระเงินภาษีจำนวนนั้นแต่ฝ่ายเดียว (มาตรา 54 แห่งประมวลรัษฎากร)

2.ถ้าผู้จ่ายเงินซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่นำเงินภาษีที่ตนมีหน้าที่หักนำส่งภายในกำหนดเวลา จะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องนำส่ง ทั้งนี้ ให้คำนวณเงินเพิ่มเป็นรายเดือน (เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน) นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบฯ จนถึงวันยื่นแบบฯ และนำส่งภาษี (มาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร) ถ้าผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายไม่ยื่นแบบฯ ภายในกำหนดเวลา เว้นแต่จะแสดงว่าได้มีเหตุสุดวิสัย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท (มาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร)

3.ผู้ใดโดยเจตนาไม่ยื่นรายการที่ต้องยื่น เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือ ปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 37 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร) 

สรุปแล้ว ภ.ง.ด.2 เป็นแบบแสดงรายการที่ช่วยให้กรมสรรพากรสามารถจัดเก็บภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ “นิติบุคคล” สามารถปฏิบัติตามกฎหมายภาษีได้อย่างถูกต้อง

ถึงแม้ภาษีจะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน แต่ ภ.ง.ด.2 ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินกว่าจะทำความเข้าใจ ขอเพียงศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วน เตรียมเอกสารให้พร้อม และยื่นแบบแสดงรายการภาษีให้ตรงตามเวลาที่กำหนด ก็สามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง หลีกเลี่ยงปัญหาภาษีในอนาคต ที่สำคัญคือ การทำความเข้าใจเรื่องภาษี ช่วยให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างราบรื่นอย่างแน่นอน

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถศึกษาได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร หรือติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่โดยตรง

อ้างอิง : กรมสรรพากร

timeline การนำส่งงบการเงินของนิติบุคคล

Timeline การสร้างงานบัญชีที่ยอดเยี่ยม

กลับมาอีกครั้งสำหรับฤดูกาลปิดงบการเงิน ยื่นงบการเงิน และยื่นภาษี ประจำปี  นักบัญชีและเจ้าของกิจการอย่าลืมวงปฏิทิน deadline วันสุดท้าย ด้านล่างนี้กันไว้นะคะ  จะได้ไม่พลาดไม่โดนค่าปรับค่ะ

วันสุดท้ายสำหรับการยื่นงบการเงิน ยื่นภาษีบริษัท 2567

สำหรับ “บริษัทจำกัด” ที่มีวันสิ้นรอบปีบัญชี คือ 31 ธันวาคม 2566 จะต้องปิดงบการเงิน ยื่นงบการเงิน และยื่นภาษีบริษัทประจำปี ภายในวันสุดท้ายดังนี้

** กรณียื่นออนไลน์ขยายเวลาตามที่กฎหมายกำหนด

#ปิดงบการเงิน #ปิดงบประจำปี2566 #นิติบุคคล #ยื่นภาษี #ยื่นภาษีออนไลน์ #รับปิดงบการเงิน

ทางสำนักงานบัญชีคุณภาพ เรามีบริการดูแลคุณลูกค้าทางด้านบัญชีและภาษีแบบครบวงจร

✅ รับทำบัญชี และยื่นภาษี/รายเดือน

✅ รับจดทะเบียนบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทะเบียนพาณิชย์

✅ แก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารของธุรกิจ

✅ ปิดงบการเงินประจำปี 

✅ ตรวจสอบบัญชี

✅ ให้คำปรึกษาและวิเคราะห์วางแผนทางด้านบัญชี และภาษีอากร

สอบถามข้อมูลและขอรับคำปรึกษาได้ที่

📩 Inbox : m.me/ChobAccounting

📱 โทร: 094-1594561, 098-8896262

🖥️ เว็บไซต์: https://chobaccounting.co.th/

✅ Line OA: @chobaccounting

หรือ คลิ๊ก https://lin.ee/VY2jgnO

▶️ Facebook : https://www.facebook.com/ChobAcct

📷 Tiktok : https://www.tiktok.com/@chobaccouting_online

🟥 Youtube : https://www.youtube.com/@ChobAccounting

🏢 สำนักงานตั้งอยู่ที่ บริษัท ชอบการบัญชี จำกัด เลขที่ 517/89 

ถนน มิตรภาพ-หนองคาย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง นครราชสีมา 30000 

เปิดทำการทุกวันจันทร์ – วันเสาร์

เวลา 08.00 – 17.00 น.

( หยุดวันอาทิตย์และนักขัตฤกษ์ )

ความผิดถ้าไม่ชำระภาษีในเวลาที่กำหนด?

นักบัญชีสองคนกำลังคิดอย่างจริงจัง พร้อมข้อความ "กวาดล้างระบบบัญชีเก่า"

ถ้าไม่ชำระในกำหนดเวลาหรือชำระไม่ถูกต้องจะมีความรับผิดอย่างไรบ้าง?

เบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ถือเป็นบทลงโทษเกี่ยวกับภาษีอากรอย่างหนึ่ง และอาจมีโทษทางอาญาด้วย แล้วแต่ความผิดว่าเป็นเรื่องร้ายแรงขั้นไหน โดยหากบุคคลใดยื่นแบบฯ ภายในกำหนดแต่ชำระภาษีไม่ครบถ้วน หรือยื่นแบบฯ ล่าช้า ละเลย หรือหลีกเลี่ยงการยื่นแบบฯ จะต้องเสียเงินเพิ่มและเบี้ยปรับตามกฎหมายกำหนด และหากฝ่าฝืนไม่ยอมชำระ ก็ต้องรับโทษทางอาญาด้วย ซึ่งมีบทลงโทษ ดังนี้

กรณีไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลา จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน (เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน) ของเงินภาษีที่ต้องชำระนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี     

กรณีเจ้าพนักงานตรวจสอบออกหมายเรียก และปรากฏว่ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการไว้หรือยื่นแบบแสดงรายการไว้แต่ชำระภาษีขาดหรือต่ำไป นอกจากจะต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มแล้ว ยังจะต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีก 1 เท่าหรือ 2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระแล้วแต่กรณี เงินเบี้ยปรับดังกล่าวอาจลดหรืองดได้ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี     

กรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90, 91 หรือ 94 ภายในกำหนดเวลา ต้องระวางโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท      

กรณีจงใจ แจ้งข้อความเท็จ หรือแสดงหลักฐานเท็จหรือฉ้อโกง เพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 200,000 บาท

กรณีเจตนาละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร มีโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

ที่มา : กรมสรรพากร https://www.rd.go.th/562.html 

#ภาษี #ภาษีเงินได้ #บุคคลธรรมดา #ยื่นภาษี #ยื่นภาษีออนไลน์

ทางสำนักงานบัญชีคุณภาพ เรามีบริการดูแลคุณลูกค้าทางด้านบัญชีและภาษีแบบครบวงจร

✅ รับทำบัญชี และยื่นภาษี/รายเดือน

✅ รับจดทะเบียนบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทะเบียนพาณิชย์

✅ แก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารของธุรกิจ

✅ ปิดงบการเงินประจำปี 

✅ ตรวจสอบบัญชี

✅ ให้คำปรึกษาและวิเคราะห์วางแผนทางด้านบัญชี และภาษีอากร

สอบถามข้อมูลและขอรับคำปรึกษาได้ที่

📩 Inbox : m.me/ChobAccounting

📱 โทร: 094-1594561, 098-8896262

🖥️ เว็บไซต์: https://chobaccounting.co.th/

✅ Line OA: @chobaccounting

หรือ คลิ๊ก https://lin.ee/VY2jgnO

▶️ Facebook : https://www.facebook.com/ChobAcct

📷 Tiktok : https://www.tiktok.com/@chobaccouting_online

🟥 Youtube : https://www.youtube.com/@ChobAccounting

🏢 สำนักงานตั้งอยู่ที่ บริษัท ชอบการบัญชี จำกัด เลขที่ 517/89 

ถนน มิตรภาพ-หนองคาย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง นครราชสีมา 30000 

เปิดทำการทุกวันจันทร์ – วันเสาร์

เวลา 08.00 – 17.00 น.

( หยุดวันอาทิตย์และนักขัตฤกษ์ )

ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดายื่นได้ที่ไหน? และมีวิธีการใดบ้าง?

นักธุรกิจสองคนสงสัยเกี่ยวกับการลดหย่อนภาษี

การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90  91 ผ่านอินเทอร์เน็ต

ขั้นตอนการยื่นแบบฯ

1. เข้า web site ของกรมสรรพากรที่  www.rd.go.th
2. เลือกรายการ e-FILING
3. เข้าใช้บริการครั้งแรก ให้เลือกรายการสมัครใช้บริการ
4. หลังจากนั้น เข้าระบบตามขั้นตอน ดังนี้ 


5. ป้อนรายการข้อมูล ได้แก่ รายการเงินได้ ค่าลดหย่อน เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่าย ฯลฯ
แล้ว คลิก “ตกลง” เพื่อยืนยันการยื่นแบบฯ
6. เมื่อได้ตรวจสอบรายการข้อมูลที่บันทึกและสั่งให้ระบบ “คำนวณภาษีแล้ว”
    6.1 กรณีไม่มีภาษีต้องชำระ
        (1) โปรแกรมจะแจ้งผลการรับแบบและหมายเลขอ้างอิง เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการยื่นแบบฯ
        (2) กรมสรรพากรจะส่งใบเสร็จรับเงินทันที
    6.2 กรณีมีภาษีต้องชำระ
        (1) หากเลือกวิธีชำระภาษีผ่าน e-payment ระบุธนาคารที่ท่านใช้บริการอยู่ และดำเนินการตามขั้นตอนของ ธนาคารนั้น
        (2) หากเลือกวิธีชำระภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคาร ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการชำระภาษีจะถูกส่งจากกรมสรรพากรไปยังธนาคารโดยตรง เมื่อผู้เสียภาษียืนยันการทำรายการของระบบชำระเงินของธนาคารแล้ว ธนาคารจะแจ้งผลการทำรายการ เช่น ผลการโอนเงิน การยกเลิกการทำรายการ เป็นต้น ส่งให้กรมสรรพากรแบบทันทีทันใด (Real Time)
        (3) หากเลือกวิธีชำระภาษี ณ เคาน์เตอร์ ไปรษณีย์อัตโนมัติ (Pay at Post) ระบบจะแจ้งรายการข้อมูลเช่นเดียวกับ (2) เพื่อใช้เป็นข้อมูลนำไปชำระภาษี ณ ที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่ง (ยกเว้น ปณ. โสกเชือก จ. ร้อยเอ็ด และ ปณ. ชุมแสงสงคราม จ.พิษณุโลก

ขั้นตอนการชำระภาษี

เมื่อได้ทำรายการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91 ผ่านอินเทอร์เน็ตเรียบร้อยแล้ว และเป็นกรณีที่มีภาษีต้องชำระ ผู้ใช้บริการจะต้องชำระภาษีทั้งจำนวนในวันใดก็ได้ภายในกำหนดเวลายื่นแบบ โดยมีทางเลือกในการชำระภาษีวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้

1. การชำระภาษีผ่านบริการอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารพาณิชย์

  1.1 การชำระภาษีผ่าน e-payment เป็นระบบการชำระเงินพร้อมกับการยื่นรายการข้อมูลตามแบบ

    (1) ผู้ใช้บริการต้องทำความตกลงกับธนาคารไว้แล้ว
    (2) เลือกธนาคารที่ต้องการสั่งโอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารเพื่อชำระภาษี
    (3) ทำรายการโอนเงินตามขั้นตอนของธนาคาร
    (4) เมื่อทำรายการโดยครบถ้วนแล้วโปรแกรมจะแจ้ง หมายเลขอ้างอิง การยื่นแบบฯ และชำระภาษีให้
    (5) กรมสรรพากรจะส่งใบเสร็จรับเงินทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามที่อยู่ที่แสดงในแบบให้โดยเร็ว

  1.2 การชำระวิธีอื่น

    (1) เลือกบริการชำระภาษี
    (2) ป้อนข้อมูลหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี รหัสควบคุม และจำนวนภาษีที่ต้องชำระที่ได้จากโปรแกรมการยื่นแบบฯ ผ่านอินเทอร์เน็ต
    (3) หากข้อมูลตามข้อ (2) ถูกต้องธนาคารจะโอนเงินจากบัญชีเงินฝากของท่านเข้าบัญชีกรมสรรพากรเพื่อชำระภาษี
    (4) กรมสรรพากร จะส่งใบเสร็จรับเงินทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามที่อยู่ที่ได้ลงทะเบียนไว้ในแบบฯให้โดยเร็ว
หมายเหตุ กรณีชำระผ่านเครื่อง ATM ต้องเป็นเครื่อง ATM ของธนาคารผู้ออกบัตรเท่านั้น
 

2. การชำระเงินทางไปรษณีย์ Pay at Post ให้นำรายการข้อมูลที่ได้รับจากระบบได้แก่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร รหัสควบคุม จำนวนเงินภาษี ไปชำระเงินภาษีอากรได้ที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศ (ยกเว้น ปณ. โสกเชือก จ.ร้อยเอ็ด และ ปณ.ชุมแสงสงคราม จ. พิษณุโลก) กรมสรรพากรจะส่งใบเสร็จรับเงินทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามที่อยู่ที่ได้ลงทะเบียนไว้ให้โดยเร็ว

#ภาษี #ภาษีเงินได้ #บุคคลธรรมดา #ยื่นภาษี #ยื่นภาษีออนไลน์

ทางสำนักงานบัญชีคุณภาพ เรามีบริการดูแลคุณลูกค้าทางด้านบัญชีและภาษีแบบครบวงจร

✅ รับทำบัญชี และยื่นภาษี/รายเดือน

✅ รับจดทะเบียนบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทะเบียนพาณิชย์

✅ แก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารของธุรกิจ

✅ ปิดงบการเงินประจำปี

✅ ตรวจสอบบัญชี

✅ ให้คำปรึกษาและวิเคราะห์วางแผนทางด้านบัญชี และภาษีอากร

สอบถามข้อมูลและขอรับคำปรึกษาได้ที่

📩 Inbox : m.me/ChobAccounting

📱 โทร: 094-1594561, 098-8896262

🖥️ เว็บไซต์: https://chobaccounting.co.th/

✅ Line OA: @chobaccounting

หรือ คลิ๊ก https://lin.ee/VY2jgnO

▶️ Facebook : https://www.facebook.com/CHOBAcct

📷 Tiktok : https://www.tiktok.com/@chobaccouting_online

🟥 Youtube : https://www.youtube.com/@ChobAccounting

🏢 สำนักงานตั้งอยู่ที่ บริษัท ชอบการบัญชี จำกัด เลขที่ 517/89

ถนน มิตรภาพ-หนองคาย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง นครราชสีมา 30000

เปิดทำการทุกวันจันทร์ – วันเสาร์

เวลา 08.00 – 17.00 น.

( หยุดวันอาทิตย์และนักขัตฤกษ์ )

5 แอปพลิเคชันช่วยคำนวณภาษี ฟรี 

มือถือแสดงแอปพลิเคชันต่างๆ พร้อมข้อความ "5 แอปพลิเคชัน ช่วยจัดบัญชี"

เชื่อว่าหลาย ๆ คนต้องเคยเจอกับปัญหาในการคำนวณภาษีแน่นอน ไม่รู้ว่าคิดยังไงหรือว่าคำนวณแบบไหน ปัจจุบันการคำนวณภาษีไม่ได้เป็นเรื่องยากอีกต่อไป เพราะสมัยนี้เค้ามีแจกฟรี “แอปพลิเคชันคำนวณภาษี” ให้โหลดเยอะแยะมากมาย 

วันนี้ชอบการบัญชีได้รวบรวม “แอปพลิเคชันคำนวณภาษี” มาให้ 5 แอปพลิเคชัน คือ RD Smart Tax, iTAX PRO PIT 90, PIT 91 และ Tax Instead ให้ได้อ่านแล้วเลือกใช้ให้เหมาะกับตนเอง เพราะแต่ละแอปพลิเคชันการใช้งานจะแตกต่างกันออกไปนะคะ

1. RD Smart Tax

เป็นแอปพลิเคชันทางการของกรมสรรพากรโดยตรง ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้เสียภาษี และบุคคลธรรมดาทั่วไป โดยในตัวแอปพลิเคชันจะมีการแจ้งข่าวสารเรื่องราวของกฎหมายที่ออกใหม่จากกรมสรรพากร สื่อความรู้อิเล็กทรอนิกส์ และตัวช่วยในการคำนวณภาษี ทั้งหมดนี้ยังไม่รวมการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.91 ภายในกำหนดเวลา สามารถจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้ไว้คำนวณปีถัดไปได้ แล้วก็สามารถยื่นภาษีแบบออนไลน์ได้อีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นแอปพลิเคชันที่ค่อนข้างครบจบในตัวเดียวเลย สามารถใช้ได้ทั้ง iOS / Android

2. iTAX PRO

แอปพลิเคชันตัวนี้สามารถเติมเต็มความต้องการของผู้ที่มีปัญหาอย่างมากในการคำนวณภาษี สามารถวางแผนภาษีได้ 3 รูปแบบ ซึ่งสามารถเลือกกรอกรายการในส่วนของรายได้ และลดหย่อนต่าง ๆ ได้ ตัวรูปแบบเค้าจัดได้เป็นระเบียบไม่สับสนเลยสักนิด จะมีหน้ารายได้เงินปันผลที่พี่ทุยค่อนข้างปลื้ม เพราะเราสามารถเลือกได้ทันทีว่าจะรวมคำนวณหรือไม่ ทำให้เราสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าควรจะใช้เครดิตภาษีเงินปันผลดีไหม และยังมีฟังก์ชันการวางแผนประหยัดภาษีอีกด้วยนะ ซึ่ง iTAX PRO เนี่ย จะคำนวณตัวเลขออกมาเพื่อให้ผู้ใช้งานรู้ถึงจำนวนเงินที่ต้องจ่ายเพิ่มหรือได้รับเงินคืนล่วงหน้าอีกด้วย ตัว iTAX PRO จะสีค่อนข้างสะอาดตา ใช้งานง่าย เหมาะสำหรับคนที่ชอบอะไรแบบเรียบง่าย ใช้ได้ทั้ง iOS / Android

3. PIT 90

แอปพลิเคชันนี้จะสามารถสรุปผลการคำนวณมาให้ดูแบบละเอียดเลยหล่ะ เหมาะสำหรับคนที่กำลังเตรียมยื่น ภ.ง.ด.90 สำหรับคนที่มีรายได้หลายประเภท ด้วยรูปแบบของแอปพลิเคชันตัวนี้ จะเห็นชัดทุกขั้นตอน ค่อนข้างเข้าใจง่ายและละเอียด ว่าต้องกรอกข้อมูลอะไรบ้าง เมื่อกรอกข้อมูลครบถ้วนทั้งหมด เจ้า PIT 90 เนี่ย ก็จะคำนวณออกมาให้แบบเสร็จสมบูรณ์ แอปพลิเคชันนี้จะมีความน่ารักสดใส ดูง่าย เหมาะสำหรับคนที่ไม่ชอบอะไรแบบทางการมาก แล้วก็เหมาะกับผู้ที่มีเงินได้หลายประเภท แนะนำให้โหลดติดมือถือไว้ได้เลย ใช้ได้ทั้ง iOS / Android

4. PIT 91

แอปพลิเคชัน PIT 91 จะคล้าย ๆ กับ PIT 90 แต่ต่างกันตรงที่ว่าเจ้า PIT 91 เนี่ย มีเอาไว้คำนวณภาษีสำหรับคนที่กำลังเตรียมตัวยื่น ภ.ง.ด.91 หรือง่าย ๆ สำหรับมนุษย์เงินเดือนเป็นหลักเนี่ยแหละ ใช้ง่ายไม่แตกต่างกัน สามารถรวมภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายทั้งปีมาให้พร้อมกันได้ แจกแจงรายละเอียดของเงินภาษีที่ต้องชำระจริง  มีตัวช่วยคำนวณเพียงแค่กรอกเลขเท่านั้น ใช้งานง่ายมากพี่ทุยลองใช้แล้ว ตัวรูปแบบแอปพลิเคชันเค้าก็น่ารัก ใช้ได้ทั้ง iOS / Android

5. Tax Instead

แอปพลิเคชันนี้เป็นเครื่องมือที่ช่วยฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายทรัพยากรบุคคล ในการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายออกแทน กรณีที่กิจการตกลงรับผิดชอบภาษีเงินได้ให้กับพนักงานคนสำคัญ หรือแม้แต่ตัวผู้บริหารเองโดยที่โปรแกรมจะนำข้อมูลเงินได้เช่น เงินเดือน, ค่านายหน้า, โบนัส หรืออื่น ๆ มารวมเป็นรายได้ และหักค่าใช้จ่ายให้โดยอัตโนมัติ รวมถึงนำค่าลดหย่อนที่กรอกเข้าไปมาหักเพื่อคำนวณภาษี โดยโปรแกรมจะแจ้งเตือนกรณีที่กรอกค่าลดหย่อนต่าง ๆ เกินเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด เพียงเท่านี้ก็จะรู้แล้วว่ากิจการต้องออกภาษีแทนให้เท่าไหร่ พนักงานจะได้รับเงินในแต่ละเดือนเท่าไหร่ ถือว่าเป็นแอปพลิเคชันที่ค่อนข้างมีรายละเอียดเยอะหน่อย แต่สีสันนี่น่ารักเชียวล่ะ ใช้ได้ทั้ง iOS / Android

#ภาษี #ภาษีเงินได้ #บุคคลธรรมดา #ยื่นภาษี #ยื่นภาษีออนไลน์

ทางสำนักงานบัญชีคุณภาพ เรามีบริการดูแลคุณลูกค้าทางด้านบัญชีและภาษีแบบครบวงจร

✅ รับทำบัญชี และยื่นภาษี/รายเดือน

✅ รับจดทะเบียนบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทะเบียนพาณิชย์

✅ แก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารของธุรกิจ

✅ ปิดงบการเงินประจำปี

✅ ตรวจสอบบัญชี

✅ ให้คำปรึกษาและวิเคราะห์วางแผนทางด้านบัญชี และภาษีอากร

สอบถามข้อมูลและขอรับคำปรึกษาได้ที่

📩 Inbox : m.me/ChobAccounting

📱 โทร: 094-1594561, 098-8896262

🖥️ เว็บไซต์: https://chobaccounting.co.th/

Line OA: @chobaccounting

หรือ คลิ๊ก https://lin.ee/VY2jgnO

▶️ Facebook : https://www.facebook.com/CHOBAcct

📷 Tiktok : https://www.tiktok.com/@chobaccouting_online

Youtube : https://www.youtube.com/@ChobAccounting

🏢 สำนักงานตั้งอยู่ที่ บริษัท ชอบการบัญชี จำกัด เลขที่ 517/89

ถนน มิตรภาพ-หนองคาย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง นครราชสีมา 30000

เปิดทำการทุกวันจันทร์ – วันเสาร์

เวลา 08.00 – 17.00 น.

( หยุดวันอาทิตย์และนักขัตฤกษ์ )

ยื่นภาษีด้วยแบบแสดงรายการอะไรบ้าง?

นักบัญชี ด้วยแบบและองรายการอะไรบ้าง ?

แบบแสดงรายการที่ใช้มีดังต่อไปนี้

ชื่อแบบใช้ยื่นกรณีกำหนดเวลายื่น
ภ.ง.ด. 90มีเงินได้พึงประเมินทุกประเภทมกราคม – มีนาคม ของปีภาษีถัดไป
ภ.ง.ด. 91มีเฉพาะเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1ม.40(1) ประเภทเดียวมกราคม – มีนาคม ของปีภาษีถัดไป
ภ.ง.ด. 93มีเงินได้ขอชำระภาษีล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดเวลาการยื่นแบบตามปกติ
ภ.ง.ด. 94ยื่นครึ่งปีสำหรับผู้มีเงินได้พึงประเมินเฉพาะประเภทที่ 5,6,7 และ 8กรกฎาคม – กันยายน ของปีภาษีนั้น
ภ.ง.ด. 95คนต่างด้าวผู้มีเงินได้จากการาจ้างแรงงานจากสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคมกราคม – มีนาคม ของปีภาษีถัดไป

การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามี 2 ระยะ คือ

1. “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี” เป็นการยื่นแบบแสดงรายการเงินได้เฉพาะเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5,6,7 หรือ 8 ที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายนไม่ว่าจะมีเงินได้ประเภทอื่นรวมอยู่ด้วยหรือไม่ก็ตาม โดยยื่นภายในเดือนกันยายนของปีภาษีนั้น และภาษีที่เสียนี้นำไปเป็นเครดิตหักออกจากภาษีสิ้นปีได

2. “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี” เป็นการยื่นแบบแสดงรายการเงินได้พึงประเมินที่ได้รับแล้ว ในระหว่างปีภาษี โดยยื่นภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป

สามารถโหลดแบบแสดงรายการภาษี ได้ที่ : 

ภ.ง.ด. 90 : https://www.rd.go.th/fileadmin/tax_pdf/pit/2566/271266PIT90.pdf

ภ.ง.ด. 91 : https://www.rd.go.th/fileadmin/tax_pdf/pit/2566/271266PIT91.pdf 

ภ.ง.ด. 93 : https://www.rd.go.th/fileadmin/tax_pdf/pit/PIT93_120158.pdf

ภ.ง.ด. 94 : https://www.rd.go.th/fileadmin/tax_pdf/pit/2566/300666PIT94.pdf

ภ.ง.ด.95 : https://www.rd.go.th/fileadmin/tax_pdf/pit/PIT95_291260.pdf

เงินได้ตัวไหนบ้างที่ต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ?

นักบัญชีสองคนกำลังตรวจสอบเอกสารทางบัญชีและใช้เครื่องคิดเลข

เงินได้อะไรบ้างที่ต้องเสียภาษี?

ตามกฎหมาย เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เรียกว่า “เงินได้พึงประเมิน” หมายถึง เงินได้ของบุคคลใดๆ หรือหน่วยภาษีใดข้างต้นที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ของปีใดๆ หรือเงินได้ ที่เกิดขึ้นในปีภาษี ได้แก่

1. เงิน เครื่องหมายปีกกา  

2. ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน ที่ได้รับจริง ที่ได้รับจริง(เกณฑ์เงินสด)

3. ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน  

4. เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้  

5. เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกำหนด

สำหรับผู้ที่ต้องยื่นภาษีในประเทศไทย มีการพิจารณาอยู่ 2 หลักเกณฑ์ คือ “แหล่งเงินได้” และ “ถิ่นที่อยู่” โดยแหล่งที่มาของเงินได้ สามารถแบ่งเป็นเงินได้จากแหล่งในประเทศและนอกประเทศ เงินได้จากแหล่งต่างๆ นี้จะต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ ให้พิจารณา ดังนี้

1. เงินได้เกิดจากแหล่งในประเทศ หมายถึง เงินได้ที่เกิดขึ้น หรือเป็นผลสืบเนื่องจากมี

1.1 หน้าที่งานที่ทำในประเทศไทย หรือ
1.2 กิจการที่ทำในประเทศไทย หรือ
1.3 กิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือ
1.4 ทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย (ดอกเบี้ย เงินปันผล ค่าเช่า ฯลฯ
* เงื่อนไข ผู้มีเงินได้เกิดจากแหล่งในประเทศนี้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามที่ประมวลรัษฏากร กำหนดไว้เสมอเว้นแต่จะมีข้อยกเว้นตามกฎหมาย ทั้งนี้ ไม่ว่าเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วนั้น จะจ่ายในหรือนอกประเทศ และไม่ว่าผู้มีเงินได้นั้นจะเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยหรือไม่ก็ตาม)

2. เงินได้เกิดจากแหล่งนอกประเทศไทย  หมายถึง เงินได้ที่เกิดขึ้นหรือเป็นผลสืบเนื่องจากมี

2.1 หน้าที่งานที่ทำในต่างประเทศ หรือ
2.2 กิจการที่ทำในต่างประเทศ หรือ
2.3 ทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ

* เงื่อนไข ผู้มีเงินได้เกิดจากแหล่งนอกประเทศในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วจะต้องเสียภาษีเงินได้ ในประเทศไทยก็ต่อเมื่อเข้าองค์ประกอบทั้ง 2 ประการ ดังต่อไปนี้
(1) ผู้มีเงินได้เป็น ผู้อยู่ในประเทศไทย ในปีภาษีนั้นชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะเวลา รวมทั้งหมดถึง 180 วัน และ
(2) ผู้มีเงินได้ นำเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีนั้นด้วย

ในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาบางกรณี ถ้าเกี่ยวข้องกับบุคคลของบางประเทศที่มี อนุสัญญาภาษีซ้อน* หรือความตกลงเพื่อป้องกันการเก็บภาษีซ้ำซ้อนกับประเทศไทยจำเป็นต้องพิจารณาถึงความ ตกลงหรืออนุสัญญาว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยได้ทำความตกลงไว้ด้วย

ตัวอย่าง นาย ค มีรายได้เงินปันผลและกำไรจากการลงทุนในหุ้น ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 2565 ถูกหักภาษีเงินปันผล 10% ในปี 2565 นาย ค อาศัยอยู่ในประเทศไทยเกิน 180 วัน และนำเงินทั้งส่วนเงินปันผลและกำไรจากการขายหุ้นเข้ามาในปี 2567 เข้าข่ายจะต้องเสียภาษีทั้งส่วนของเงินปันผลและกำไรจากการขายหุ้น แนะนำให้เก็บเอกสารที่ถูกหักภาษีไปแล้ว เพื่อนำมาเครดิตภาษีในประเทศไทย 

ที่มา : https://www.rd.go.th/552.html

#ภาษี #ภาษีเงินได้ #บุคคลธรรมดา #ยื่นภาษี #ยื่นภาษีออนไลน์

ทางสำนักงานบัญชีคุณภาพ เรามีบริการดูแลคุณลูกค้าทางด้านบัญชีและภาษีแบบครบวงจร

✅ รับทำบัญชี และยื่นภาษี/รายเดือน

รับจดทะเบียนบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทะเบียนพาณิชย์

✅ แก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารของธุรกิจ

✅ ปิดงบการเงินประจำปี

✅ ตรวจสอบบัญชี

✅ ให้คำปรึกษาและวิเคราะห์วางแผนทางด้านบัญชี และภาษีอากร

สอบถามข้อมูลและขอรับคำปรึกษาได้ที่

Inbox : m.me/ChobAccounting

📱 โทร: 094-1594561, 098-8896262

🖥️ เว็บไซต์: https://chobaccounting.co.th/

✅ Line OA: @chobaccounting

หรือ คลิ๊ก https://lin.ee/VY2jgnO

▶️ Facebook : https://www.facebook.com/CHOBAcct

📷 Tiktok : https://www.tiktok.com/@chobaccouting_online

Youtube : https://www.youtube.com/@ChobAccounting

สำนักงานตั้งอยู่ที่ บริษัท ชอบการบัญชี จำกัด เลขที่ 517/89

ถนน มิตรภาพ-หนองคาย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง นครราชสีมา 30000

เปิดทำการทุกวันจันทร์ – วันเสาร์

เวลา 08.00 – 17.00 น.

( หยุดวันอาทิตย์และนักขัตฤกษ์ )

ประเภทภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

สองนักธุรกิจกำลังดูข้อมูลทางบัญชีบนแท็บเล็ต

สำหรับผู้ที่ต้องการอยากรู้ว่า ท่านจำเป็นต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ ? วันนี้ชอบการบัญชี เรานำข้อมูลเกี่ยวกับ “ประเภทภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” มาฝากเพื่อนๆกันค่ะ

โดยทั่วไป เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เรียกว่า “เงินได้พึงประเมิน” หมายถึง เงินได้อันเข้าลักษณะพึงต้องเสียภาษีเงินได้ ซึ่งเกิดจากหน้าที่งานที่ทำ กิจการที่ทำหรือเนื่องจากทรัพย์สิน ได้แก่ เงิน ทรัพย์สิน ประโยชน์อื่นใดที่คำนวณได้เป็นตัวเงิน เงินภาษีที่ผู้จ่ายออกแทน หรือเครดิตภาษี ตามที่กฎหมายกำหนด 

เมื่อใดที่ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีภาษีจะมีหน้าที่ต้องยื่นแบบฯ ก็ต่อเมื่อมีเงินได้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ว่าเมื่อคำนวณภาษีแล้วจะมีภาษีต้องชำระเพิ่มเติมหรือไม่ก็ตาม ดังนี้
      เกณฑ์เงินได้พึงประเมินขั้นต่ำที่ผู้มีเงินได้ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี
      (1) บุคคลธรรมดาและผู้ถึงแก่ความตาย มีเงินได้พึงประเมิน ดังนี้

ประเภทเงินได้โสดสมรส
เงินเดือนเพียงอย่างเดียว120,000220,000
เงินได้ประเภทอื่น60,000120,000

      (2) ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล มีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000 บาท
      (3) กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง มีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000 บาท

นอกจากนี้ เนื่องด้วยผู้มีเงินได้ประกอบอาชีพแตกต่างกัน มีความยากง่ายหรือต้นทุนที่แตกต่างกัน เพื่อความ เป็นธรรม ในกฎหมายจึงได้แบ่งลักษณะเงินได้(พึงประเมิน) ออกเป็นกลุ่มๆ ตามความเหมาะสมเพื่อกำหนด วิธีคำนวณภาษีให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุด ดังนี้

1. เงินได้ประเภทที่ 1 ได้แก่ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ไม่ว่าจะเป็น

– เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ
– เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากนายจ้าง
– เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ซึ่งนายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
– เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใด ๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ
– เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน เช่น มูลค่าของการได้รับประทานอาหาร เป็นต้น

2. เงินได้ประเภทที่ 2 ได้แก่ เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็น

– ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด
– เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส
– เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับเนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้
– เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
– เงินที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายชำระหนี้ใด ๆ ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชำระ
– เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือ จากการรับทำงานให้นั้น ไม่ว่าหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว

3. เงินได้ประเภทที่ 3 ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะ เป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล

4. เงินได้ประเภทที่ 4 ได้แก่ ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร   เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น ฯลฯ เป็นต้น
      (ก) ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ไม่ว่าจะมี หลักประกันหรือไม่ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว หรือผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอน กับราคาจำหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น เป็นผู้ออกและจำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน รวมทั้งเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกันกับดอกเบี้ย ผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนอื่น ๆ ที่ได้จากการให้กู้ยืมหรือจากสิทธิเรียกร้องในหนี้ทุกชนิดไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ตาม
      (ข) เงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกำไร หรือประโยชน์อื่นใดที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กองทุนรวม หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายไทยให้จัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะสำหรับให้กู้ยืมเงิน ฯลฯ
      (ค) เงินโบนัสที่จ่ายแก่ผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
      (ง) เงินลดทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไรและเงินที่กันไว้รวมกัน
      (จ) เงินเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งจากกำไรที่ได้มาหรือรับช่วงกันไว้รวมกัน
      (ฉ) ผลประโยชน์ที่ได้จากการที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากันหรือรับช่วงกันหรือ เลิกกัน ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน
      (ช) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วนหรือโอนหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตั๋วเงิน หรือ ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้เฉพาะซึ่งตีราคา เป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน
      เงินได้ประเภทที่ 4 ในหลาย ๆ กรณี กฎหมายให้สิทธิที่จะเลือกเสียภาษีโดยวิธีหักภาษี ณ ที่จ่าย แทนการนำไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่นตามหลักทั่วไป ซึ่งจะทำให้ผู้มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามบัญชีอัตราภาษี ในอัตราที่สูงกว่าอัตราภาษี หัก ณ ที่จ่าย สามารถประหยัดภาษีได้

5. เงินได้ประเภทที่ 5 เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เงินหรือประโยชน์อย่างอื่น ที่ได้เนื่องจาก
– การให้เช่าทรัพย์สิน
– การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน
– การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว

6. เงินได้ประเภทที่ 6 ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอื่นซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้ 

7. เงินได้ประเภทที่ 7 ได้แก่ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ 

8. เงินได้ประเภทที่ 8 ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 แล้ว

ที่มา :: https://www.rd.go.th/553.html 

#ภาษี #ภาษีเงินได้ #บุคคลธรรมดา #ยื่นภาษี #ยื่นภาษีออนไลน์

ทางสำนักงานบัญชีคุณภาพ เรามีบริการดูแลคุณลูกค้าทางด้านบัญชีและภาษีแบบครบวงจร

รับทำบัญชี และยื่นภาษี/รายเดือน

รับจดทะเบียนบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทะเบียนพาณิชย์

แก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารของธุรกิจ

ปิดงบการเงินประจำปี

ตรวจสอบบัญชี

ให้คำปรึกษาและวิเคราะห์วางแผนทางด้านบัญชี และภาษีอากร

สอบถามข้อมูลและขอรับคำปรึกษาได้ที่

Inbox : m.me/ChobAccounting

โทร: 094-1594561, 098-8896262

เว็บไซต์: https://chobaccounting.co.th/

Line OA: @chobaccounting

หรือ คลิ๊ก https://lin.ee/VY2jgnO

Facebook : https://www.facebook.com/CHOBAcct

Tiktok : https://www.tiktok.com/@chobaccouting_online

Youtube : https://www.youtube.com/@ChobAccounting

สำนักงานตั้งอยู่ที่ บริษัท ชอบการบัญชี จำกัด เลขที่ 517/89

ถนน มิตรภาพ-หนองคาย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง นครราชสีมา 30000

เปิดทำการทุกวันจันทร์ – วันเสาร์

เวลา 08.00 – 17.00 น.

( หยุดวันอาทิตย์และนักขัตฤกษ์ )

ใครมีหน้าที่ยื่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ทีมนักบัญชีมืออาชีพ พร้อมให้คำปรึกษา

ผู้มีหน้าที่เสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาโดยมีสถานะ อย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้

        1)   บุคคลธรรมดา
        2)   ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
        3)   ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
        4)   กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
        5)  วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

เมื่อมีเงินได้เกิดขึ้นแล้ว กรณีเป็นผู้มีเงินได้ที่ไม่มีเลขประจำตัวประชาชน ได้แก่ เป็นคนต่างด้าว หรือกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องขอมีเลข และบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีเงินได้เกิดขึ้น แต่สำหรับผู้มีเงินได้ที่มีเลขประจำตัวประชาชน สามารถใช้เลขประจำตัวประชาชน แทนเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรได้ โดยไม่ต้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรอีก

     ผู้มีเงินได้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร สามารถยื่นคำร้อง ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ กรุงเทพมหานครทั้ง 30 แห่ง หรือสำนักสรรพากรพื้นที่ สาขา (อำเภอ) ทุกแห่ง สำหรับในต่างจังหวัด ยื่นคำขอได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ (จังหวัด) และสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (อำเภอ) ทุกแห่ง แล้วแต่กรณี โดยยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี ภายในวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดจากปีที่มีเงิน เว้นแต่เงินได้บางกรณี เช่น การให้เช่า ทรัพย์สิน เงินได้จาก วิชาชีพอิสระ เงินได้จาก การรับเหมา เงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ เป็นต้น กฎหมายยังกำหนดให้ยื่นแบบฯ เสียภาษีตอนครึ่งปี สำหรับรายได้ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงครึ่งปีแรก เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีที่ต้องชำระ และเงินได้บางกรณี กฎหมายยังกำหนดให้ ผู้จ่ายทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย จากเงินได้ที่จ่าย เพื่อให้มีการทยอยชำระภาษีด้วย

     ปัจจุบัน กรมสรรพากร ยังสามารถกำหนดให้ยื่นแบบแสดงรายการและชำระ ณ ที่ ทำการไปรษณีย์ เฉพาะที่มีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานคร เท่านั้น โดยส่งทางไปรษณีย์ ลงทะเบียนพร้อมแนบเช็ก หรือธนาณัติ ตาม จำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระทั้งจำนวน ภายในกำหนดเวลาการยื่นแบบฯ และสามารถยื่นทางออนไลน์ได้แล้ว ทาง www.rd.go.th หรือทาง RD Smart Tax Application ทางโทรศัพท์มือถือ

ที่มา : https://www.rd.go.th/548.html

#ภาษี #ภาษีเงินได้ #บุคคลธรรมดา #ยื่นภาษี #ยื่นภาษีออนไลน์

ทางสำนักงานบัญชีคุณภาพ เรามีบริการดูแลคุณลูกค้าทางด้านบัญชีและภาษีแบบครบวงจร

รับทำบัญชี และยื่นภาษี/รายเดือน

รับจดทะเบียนบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทะเบียนพาณิชย์

แก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารของธุรกิจ

ปิดงบการเงินประจำปี

ตรวจสอบบัญชี

ให้คำปรึกษาและวิเคราะห์วางแผนทางด้านบัญชี และภาษีอากร

สอบถามข้อมูลและขอรับคำปรึกษาได้ที่

Inbox : m.me/ChobAccounting

โทร: 094-1594561, 098-8896262

เว็บไซต์: https://chobaccounting.co.th/

Line OA: @chobaccounting

หรือ คลิ๊ก https://lin.ee/VY2jgnO

Facebook : https://www.facebook.com/CHOBAcct

Tiktok : https://www.tiktok.com/@chobaccouting_online

Youtube : https://www.youtube.com/@ChobAccounting

สำนักงานตั้งอยู่ที่ บริษัท ชอบการบัญชี จำกัด เลขที่ 517/89

ถนน มิตรภาพ-หนองคาย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง นครราชสีมา 30000

เปิดทำการทุกวันจันทร์ – วันเสาร์

เวลา 08.00 – 17.00 น.

( หยุดวันอาทิตย์และนักขัตฤกษ์ )