รับข้อเสนอสุดพิเศษ!

Disclosure Form สำคัญอย่างไร? ไขข้อข้องใจ ทำไมต้องมี?

ผู้หญิงกำลังอ่านเอกสารเกี่ยวกับแบบฟอร์มการเปิดเผยข้อมูล

เคยสงสัยไหมว่าทำไมบางธุรกิจถึงต้องกรอกเอกสาร Disclosure Form? เอกสารที่ดูเหมือนจะยุ่งยากนี้ จริงๆ แล้วมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในโลกธุรกิจและการเงิน Disclosure Form หรือแบบฟอร์มนี้ จะช่วยตรวจสอบข้อมูลของธุรกิจ 

เพราะเเบบฟอร์ม Disclosure Form ถูกออกแบบมาเพื่อให้มั่นใจได้ว่าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจนั้น ๆ ได้รับข้อมูลที่ครบถ้วน โปร่งใส และเป็นธรรม ซึ่งช่วยลดความเสี่ยง ลดปัญหา และสร้างความน่าเชื่อถือในระยะยาวของธุรกิจได้

 มาดูกันว่า Disclosure Form สำคัญอย่างไร? และใครบ้างที่จำเป็นต้องใช้บ้าง?

Disclosure Form คืออะไร?

Disclosure Form หรือ แบบรายงานประจำปี คือ เอกสารที่กรมสรรพากรกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันตามมาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรต้องจัดทำและยื่น เพื่อแสดงข้อมูลเกี่ยวกับธุรกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างบริษัทที่เกี่ยวข้อง และต้องยื่นพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการตามมาตรา 69 คือ ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งเป็นแบบรายงานที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับ

  1. รายชื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันที่ประกอบกิจการในประเทศไทย และไม่ได้ประกอบกิจการในประเทศไทย
  2. มูลค่าธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี
  3. ข้อมูลอื่นๆ เช่น ผู้มีหน้าที่จัดทำงบการเงินรวม การปรับปรุงโครงสร้างธุรกิจ การจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตนไปยังบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันหรือไม่ เป็นต้น

** ดังนั้น Disclosure Form ไม่ได้มีไว้ใช้เพื่อตรวจสอบภาษี แต่มีไว้เพื่อนำไปประเมินความเสี่ยงว่าบริษัทไหน มีความเสี่ยงมากในเรื่อง Transfer Pricing ถ้าประเมินแล้วมีความเสี่ยงมาก ก็อาจจะมีการขอตรวจสอบเพิ่มเติม **

ยกตัวอย่าง กรณีที่ 1 การถือหุ้น หรือถูกถือหุ้นมากกว่า 50% ทั้งทางตรงและทางอ้อม

บริษัท A ถือหุ้นในบริษัท B ไม่น้อยกว่า 50% จะถือว่าบริษัท A และบริษัท B มีความสัมพันธ์กันตามมาตรา 71 ทวิ วรรค 2 

ดังนั้นหากบริษัท A มีรายได้ 200 ล้านบาทขึ้นไป บริษัท A ต้องยื่นแบบ Disclosure form และรายงานในแบบว่ามีความสัมพันธ์กับบริษัท B และต้องเปิดเผยมูลค่าและต้องเปิดเผยรายการค้า (Transaction) ต่างๆ ที่ทำกับ B ในปีนั้นๆ

ในทางกลับกันบริษัท B หากมีรายได้เกิน 200 ล้านบาท ก็ต้องยื่นแบบ Disclosure form และรายงานในแบบว่ามีความสัมพันธ์กับบริษัท A และต้องเปิดเผยมูลค่า Transaction ต่างๆ ที่กับ A ในปีนั้นๆ ด้วยเหมือนกัน

ยกตัวอย่าง กรณีที่ 2 ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลหนึ่งไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมไม่น้อยกว่า 50% ของทุนทั้งหมด

บริษัท A ถือหุ้นในบริษัท B และ C ไม่น้อยกว่า 50% หากพิจารณาตามข้อ 2.2 จะถือว่าบริษัท B และบริษัท C มีความสัมพันธ์กัน  


ในกรณีนี้ถ้ามองเผินๆ อาจจะคิดว่าบริษัท B กับ C ไม่น่ามีความ สัมพันธ์กันแต่ว่าจริงๆ แล้วตาม ตาม 71 ทวิ วรรค 2 ข้อ 2.2 การที่บริษัท A ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 50% ทั้ง 2 บริษัท ก็ถือได้ว่าบริษัท A มีอำนาจ ควบคุมในบริษัททั้ง 2 บริษัทแล้ว การจะกระทำสั่งการให้เกิดการซื้อขายในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดก็ย่อมทำได้ ดังนั้นตามกฎหมายบริษัท B และ บริษัท C จึงถือว่ามีความสัมพันธ์กัน ทำให้ทั้งบริษัท B และ บริษัท C ต้องยื่นแบบเปิดเผยความสัมพันธ์ของกันและกัน และเปิดเผยมูลค่ารายการค้า (Transaction) ที่กระทำกันระหว่างปีด้วย

ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบรายงาน Disclosure Form คือใคร?

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีลักษณะ ดังนี้

1.นิติบุคคลหนึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่ง ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม

ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของทุนทั้งหมด หรือ ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลหนึ่ง ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของทุนทั้งหมด ไปถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่ง ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของทุนทั้งหมด

2.มีรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันตามงบการเงินเป็นจำนวนเกินกว่า 200 ล้านบาท (กฎกระทรวง ฉบับที่ 370ฯ ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2563)

(ในส่วนของความสัมพันธ์ด้านการจัดการ การควบคุม หรือด้านทุน ตามมาตรา 71 ทวิ วรรคสอง (2) ยังไม่มีผลใช้ปังคับ)

แบบฟอร์ม Disclosure Form มีข้อมูลอะไรบ้าง?

แบบฟอร์ม Disclosure Form มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงความโปร่งใส และป้องกันความขัดแย้ง

ทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นจากธุรกรรมระหว่างบริษัทที่มีความสัมพันธ์กัน โดยข้อมูลในแบบฟอร์มจะครอบคลุม 3 ส่วนหลัก ๆ ดังนี้

1. รายชื่อบริษัทที่มีความสัมพันธ์กัน

  • แสดงรายชื่อบริษัททั้งในประเทศไทยและต่างประเทศที่มีความสัมพันธ์กัน
  • ระบุสถานะความสัมพันธ์ เช่น บริษัทแม่ บริษัทย่อย บริษัทในเครือ
  • ระบุว่ามีรายการธุรกรรมระหว่างบริษัทที่มีความสัมพันธ์กันหรือไม่

2. มูลค่าธุรกรรมระหว่างกันในรอบระยะเวลาบัญชี

แสดงรายละเอียดและมูลค่าของธุรกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างบริษัทที่มีความสัมพันธ์กัน เช่น

  • รายได้จากการขายสินค้าหรือบริการ
  • รายได้อื่นๆ
  • ค่าใช้จ่ายในการซื้อวัตถุดิบหรือสินค้า
  • การซื้อ-ขายที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
  • รายจ่ายอื่นๆ
  • จำนวนเงินกู้ยืมและให้กู้ยืม ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี

3. ข้อมูลอื่นๆ (ถ้ามี)

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมระหว่างบริษัทที่มีความสัมพันธ์กันที่อยู่นอกเหนือจากส่วนที่ 1 และ 2 เช่น

  • การปรับปรุงโครงสร้างทางธุรกิจ
  • การจำหน่าย จ่าย โอนทรัพย์สินไม่มีตัวตน

ช่องทางการยื่น Disclosure Form มีอะไรบ้าง?

1.การยื่น Disclosure Form ให้ยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Website) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th ได้โดยตรงหรือผ่านทางระบบบริการ Single Sign On ทางเว็บไซต์ 

(Website) ของกระทรวงการคลัง เนื่องจากเป็นการยื่นออนไลน์ ( E-FILING ) กรมสรรพากร ได้ขยายเวลาการยื่นเพิ่มอีก 8 วัน เป็นภายใน 158 วันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี

2.หากมีเหตุจำเป็นที่ทำให้ไม่สามารถยื่น e-Fling ได้ ผู้ประกอบการสามารถพิมพ์ Disclosure Form จากระบบ เพื่อนำแบบรายงานที่เป็นกระดาษไปยื่น พร้อมกับทำหนังสือแจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรถึงเหตุอันสมควรที่ไม่สามารถยื่น e-Filing ได้ โดยยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

หากไม่ยื่น Disclosure Form ตามกำหนดจะมีโทษอย่างไร

มาตรา 35 ตรี ตามประมวลรัษฎากร กำหนดโทษสำหรับนิติบุคคลที่ไม่ยื่นรายงานหรือเอกสาร

หรือหลักฐานตามแบบที่อธิบดีกำหนด หรือแสดงข้อมูลไม่ถูกต้องครบถ้วน โดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือไม่ยื่นภายในกำหนดเวลา ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท”

อย่างไรก็ตาม กรมสรรพากร ได้กำหนดอัตราที่ควรเปรียบเทียบปรับไว้ สำหรับการยื่นรายงานเกินกำหนดเวลา สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ดังนี้

  • ไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา ปรับ 50,000 บาท
  • เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา ปรับ 100,000 บาท
  • เจ้าหน้าที่ตรวจพบ ปรับ 200,000 บาท

บทสรุป Disclosure Form เอกสารสำคัญสำหรับธุรกิจ

การทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ไม่ได้หมายความแค่การสร้างผลกำไรเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฎหมายและโปร่งใส ซึ่ง Disclosure Form  เปรียบเสมือนกุญแจสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจของคุณบรรลุเป้าหมายนั้น ช่วยให้ธุรกรรมระหว่างบริษัทที่เกี่ยวข้องมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้และป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ที่อาจเกิดขึ้นจากธุรกรรมระหว่างบริษัทที่มีความสัมพันธ์กัน

ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Disclosure Form สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของกรมสรรพากร

ข้อมูจาก: กรมสรรพากร, https://goldtraders.or.th/

ข้อมูลที่ใช้ในการยื่นงบการเงิน แล้วถ้ายื่นผิดต้องทำอย่างไร?

สองชายหนุ่มในชุดสูทกำลังนั่งพูดคุยเกี่ยวกับธุรกิจ บนโต๊ะทำงานที่เต็มไปด้วยเอกสาร

หากยื่นงบผิดแก้ไขได้หรือไม่

ในระบบยื่นงบออนไลน์ผ่าน DBD E-Filing เมื่อเราทำการยื่นงบไปแล้ว ก็จะมีผลบอกนะคะ ว่ายื่นสำเร็จหรือไม่ บางครั้งก็มีจุดผิดพลาดที่ระบบของ DBD E-Filing หรือ พนักงานตรวจสอบ ตรวจเจอข้อผิดพลาดนั้น แต่ก็ไม่ต้องตกใจไปนะคะ เราก็สามารถยื่นแก้ไขงบฯที่ระบบของ DBD E-Filingได้ค่ะ แต่ว่าก็จะต้องกรอกข้อมูล และทำเรื่องขอหลายขั้นตอนกว่าตอนที่ยื่นครั้งแรกนิดนึงค่ะ

สาเหตุของข้อผิดพลาดและต้องเช็คก่อนที่จะยื่นงบฯ

การแก้ไขตัวเลขในงบการเงินที่ส่งผลกระทบต่อยอดรวม

แก้ไขรอบบัญชีใหม่

ผู้สอบไม่ลงลายมือชื่อรับรอง หรือ ใบอนุญาตสิ้นผล

ข้อมูลใน ส.บช.3 ผู้ทำบัญชี ผู้สอบบัญชี รหัสธุรกิจ ประเภทธุรกิจ

การแก้ไขงบการเงินที่ไม่ส่งผลกระทบต่อยอดรวม

ไฟล์สแกนที่นำส่งครั้งแรก สแกนขาด/เกิน/ไม่ชัด

การ ยื่นงบการเงิน มีขั้นตอนและสิ่งที่ต้องรู้ ไม่น้อยเลยใช่ไหมคะ แต่ก็ต้องทำเพราะสิ่งที่กฏหมายกำหนดไว้ให้ปฏิบัติ ทั้งเจ้าของธุรกิจและนักบัญชี จะต้องศึกษาเกี่ยวกับการยื่นงบ กฏหมายและกฏระเบียบที่ถูกต้อง เพื่อให้กิจการเปิดเผยข้อมูลให้ถูกต้องและทันเวลาตามกำหนด และข้อมูลที่เราเปิดเผยไป ก็เป็นประโยชน์ในหลายระดับเลยค่ะ

ระดับกิจการ ก็เป็นประโยชน์ของตัวกิจการเอง ที่ได้รู้ถึงผลการดำเนินการของตนเอง หรือสามารถนำข้อมูลงบการเงินไปทำธุรกรรมต่างๆกับธนาคารได้ค่ะ

ระดับธุรกิจ ก็เป็นประโยชน์ของตัวกิจการอีกเช่นกัน ที่มีงบการเงินที่มีมาตรฐานที่ใช้กันทั้งประเทศ เป็นข้อมูลในการเปรียบเทียบกับกิจการอื่นได้ และสามารถไปค้นหาข้อมูลของคู่แข่ง เพื่อทำการวางกลยุทธ์ต่างๆ ในการบริหารได้ค่ะ

ระดับประเทศ ข้อมูลงบการเงินนำไปใช้วิเคราะห์เกี่ยวกับเศรษฐกิจภาพรวมระดับประเทศ อย่างเช่น GDP หรือ มูลค่าส่วนแบ่งการตลาดของแต่ละอุตสาหกรรม เป็นต้น

ประโยชน์ของการยื่นงบมีเยอะเลยใช่ไหมคะ เราก็มาทำงบการเงินให้ถูกต้อง และนำส่งตามที่กฏหมายกำหนดผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่ต้องนำส่งงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเป็นประจำทุกปี ให้ทันเวลากันค่ะ

ใครบ้างที่มีหน้าที่ในการส่งงบการเงินประจำปี?

สองชายหนุ่มสวมสูทกำลังจับมือกันยิ้มอย่างมีความสุข

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะต้องจัดให้มีการทำบัญชีนับแต่วันเริ่มทำบัญชี ดังต่อไปนี้

ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ให้เริ่มจัดทำบัญชีนับแต่วันที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย

นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทยให้เริ่มทำบัญชี นับแต่วันที่นิติบุคคลนั้นได้เริ่มต้นประกอบธุรกิจในประเทศไทย

กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากรให้เริ่มทำบัญชีนับแต่วันที่กิจการร่วมค้านั้นได้เริ่มต้นประกอบกิจการ

ข้อมูลเพิ่มเติม https://efiling.dbd.go.th/efiling-documents/dbd_law_account2543_Guilinebfinnste.pdf

งบการเงินคืออะไร ทำไมต้องปิดงบการเงิน?

นักบัญชีสองคนชี้ไปด้านข้าง พร้อมข้อความว่า "ต้องการบริการบัญชีหรือไม่"

การปิดงบการเงิน คือรายงานทางการเงินและบัญชี ที่แสดงให้เห็นสถานะการดำเนินงานของกิจการ ซึ่งประกอบด้วยงบแสดงฐานะทางการเงิน (งบดุล) งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด และงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น โดยหลังจากที่กิจการทำงบการเงินแล้ว จะต้องมีการปิดงบการเงิน เมื่อสิ้นรอบบัญชี เพื่อส่งให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าและสรรพากรตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น วันนี้เรามาทำความรู้จักกับการปิดงบการเงินกันค่ะ

การปิดงบการเงินคืออะไร แล้วใครต้องปิดงบการเงิน

การปิดงบการเงิน คือการจัดการกับงบการเงินเมื่อถึงกำหนดสิ้นรอบบัญชี เพื่อส่งงบการเงินให้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมสรรพากร โดยผู้ที่มีหน้าที่ปิดงบการเงินคือกิจการที่จดทะเบียนนิติบุคคล ซึ่งนิติบุคคลอย่างบริษัทจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด จะต้องปิดงบการเงินตามที่กฎหมายกำหนดปีละ 1 ครั้ง ที่สำคัญต้องจัดหาผู้ทำบัญชีและผู้ตรวจสอบบัญชีเพื่อจัดส่งงบการเงินตามกำหนด เพื่อหลีกเลี่ยงโทษปรับหากไม่ทำการส่งงบการเงิน

ทั้งนี้ การปิดงบการเงิน สำหรับบริษัททั่วไปจะดำเนินการโดยนักบัญชีในตำแหน่ง สมุห์บัญชี ผู้จัดการแผนกบัญชี ผู้ทำบัญชี เป็นพนักงานประจำของบริษัท แต่ถ้าเป็นบริษัทเปิดใหม่ บริษัทขนาดเล็ก หรือยังไม่มีเงินทุนมากพอในการจ้างพนักงานบัญชี ก็ยังมีสำนักงานบัญชี หรือผู้ทำบัญชีฟรีแลนซ์ ให้บริการรับปิดงบการเงิน รวมถึงบริการด้านบัญชีและภาษีอื่นๆ ด้วย

ข้อมูลเพิ่มเติม https://inflowaccount.co.th/closing-financial-statements-การปิดงบการเงิน/