ใกล้ถึงเวลาที่ใครหลายคนต้องเผชิญกับการยื่นภาษี แล้วพอพูดถึงภาษี หลายคนก็มักจะนึกถึงเอกสารมากมาย รวมถึง “ภ.ง.ด.” ที่มีทั้งแบบ 1, 2, 3 บอกเลยว่าชวนปวดหัวไม่น้อย
วันนี้เราจะพาไปเจาะลึกกับ “ภ.ง.ด.3” แบบเข้าใจง่าย ๆ ว่าคืออะไร สำคัญอย่างไร และใครบ้างที่ต้องยื่น มาทำความรู้จักกับภาษีให้ดี ก่อนยื่นภาษีแบบสบายใจ
ภ.ง.ด.3 คืออะไร?
ภ.ง.ด.3 คือ แบบที่ใช้สำหรับการยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ซึ่งผู้รับเงินเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือพูดง่าย ๆ คือ แบบยื่นแจ้งการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่บริษัทเรา (นิติบุคคล) ได้หักจากเงินค่าจ้าง/ค่าบริหารที่จ่ายให้กับบุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้พึงประเมินประเภท 40 (5) – 40 (8) โดยบริษัทจะต้องนำส่งภาษีที่หักเอาไว้ให้แก่กรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
ใครบ้างที่ต้องยื่น ภ.ง.ด.3
ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามแบบ ภ.ง.ด.3 คือ ผู้จ่ายเงินได้ให้แก่ผู้รับซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ตัวอย่างอาชีพที่ต้องยื่น ภ.ง.ด.3
คือคนที่จ่ายเงินให้กับคนอื่นๆ ที่มีรายได้ตามนี้
1. เงินได้จากการให้เช่า
- ค่าเช่าบ้าน ค่าเช่าคอนโด ค่าเช่าที่ดิน อะไรแบบนี้เลยค่ะ
- เงินที่ได้จากการผิดสัญญาเช่าซื้อ เช่น ยึดรถ ยึดบ้าน เพราะคนเช่าไม่จ่ายเงิน
- เงินที่ได้จากการผิดสัญญาซื้อขายแบบผ่อน เช่น ยึดของที่ขายไป เพราะคนซื้อไม่จ่ายเงิน
2. เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
- เงินที่ได้จากการทำงานอิสระ เช่น ทนายความ หมอ วิศวกร สถาปนิก นักบัญชี ศิลปิน ฯลฯ
3. เงินได้จากการรับเหมา
- เงินที่ได้จากการรับเหมาก่อสร้าง ที่ต้องจ่ายค่าวัสดุเองด้วย ไม่ใช่แค่ค่าแรงอย่างเดียว
4. เงินได้จากธุรกิจอื่นๆ
- เงินที่ได้จากการทำธุรกิจต่างๆ เช่น ค้าขาย ผลิตสินค้า ขนส่ง ฯลฯ
ภ.ง.ด.3 ต่างจากแบบอื่นๆอย่างไร (ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.91 , ภ.ง.ด.53)
ภ.ง.ด.3 คือ แบบยื่นแจ้งการหักภาษี ณ ที่จ่าย ของนิติบุคคล ที่ทำธุรกรรมกับบุคคลธรรมดา ที่เจ้าของธุรกิจ (นิติบุคคล) มีหน้าที่หักออกจากค่าจ้างก่อนจ่ายเงิน
ภ.ง.ด.1 คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ 40 (2) เช่น เงินเดือน ค่าเบี้ยเลี้ยง โบนัส เป็นต้น โดยยื่นแบบเฉพาะพนักงานที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่านั้น
ภ.ง.ด.91 คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สําหรับคนที่มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) ประเภทเดียว ที่ได้จากการจ้างงาน ต้องยื่นภายใน 31 มีนาคมของทุกปี
ภ.ง.ด.53 เป็นแบบยื่นรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย โดยผู้รับเงินซึ่งถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นนิติบุคคลที่มีหน้าที่ในการเสียภาษีเงินได้
ความสำคัญของการยื่นภาษี ภ.ง.ด.3
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือ กลไกการจัดเก็บภาษีเงินได้ล่วงหน้า โดยกำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้ (เช่น บริษัท ห้างร้าน) มีหน้าที่หักภาษีจากเงินได้ที่จ่ายให้แก่ผู้รับ (เช่น พนักงาน คู่ค้า) ในอัตราร้อยละที่กฎหมายกำหนดไว้ ณ เวลาที่จ่ายเงินได้นั้น ๆ
ตัวอย่างเช่น เมื่อบริษัทจ้างฟรีแลนซ์ บริษัทมีหน้าที่หักภาษีจากค่าจ้างที่จ่ายให้แก่ฟรีแลนซ์ในอัตราที่กำหนด และนำส่งเงินภาษีดังกล่าวให้แก่กรมสรรพากร
ทั้งนี้ เงินภาษีที่หักไว้ ไม่ใช่เงินของบริษัท แต่เป็นเงินภาษีของผู้รับที่บริษัทมีหน้าที่รวบรวมและนำส่งให้แก่กรมสรรพากรแทน
การหักภาษี ณ ที่จ่าย ช่วยให้รัฐบาลสามารถจัดเก็บภาษีได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ผลเสียของการไม่ยื่นภาษี หรือ ยื่นภาษีเกินกำหนด
1. ถ้าบริษัทหรือคนที่จ่ายเงินให้เรา ไม่ยอมหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือหักไปแล้วแต่ไม่ครบ แบบนี้ทั้งบริษัทและตัวเราต้องรับผิดชอบร่วมกัน โดยต้องจ่ายภาษีที่ขาดไปให้ครบถ้วน แต่ถ้าบริษัทหักภาษีไว้แล้วแต่ยังไม่เอาไปจ่ายให้กรมสรรพากร อันนี้บริษัทต้องรับผิดชอบ
2. ถ้าบริษัทไม่ยอมเอาภาษีที่หักไว้ไปจ่ายให้กรมสรรพากรตามเวลาที่กำหนด แบบนี้บริษัทจะโดนปรับเงินเพิ่มด้วยนะ คิดเป็นเดือน เดือนละ 1.5% ของเงินภาษีที่ต้องจ่าย นับตั้งแต่วันที่ต้องยื่นภาษีไปจนถึงวันที่จ่ายจริง ยกเว้นว่าจะมีเหตุสุดวิสัยจริงๆ ถึงจะโดนแค่ค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท
3. ใครที่ตั้งใจไม่ยื่นภาษีเพื่อเลี่ยงภาษี อันนี้โดนหนักเลยค่ะ อาจจะโดนจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
วิธีคำนวณภาษีอย่างง่าย
อัตราภาษี หัก ณ ที่จ่าย ของประเภทเงินได้ที่จะต้องถูกหักที่พบบ่อย ๆ
ค่าเช่า อาคาร บ้าน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง | 5% |
เงินได้จากวิชาชีพอิสระตาม หรือ ฟรีแลนซ์ เฉพาะใน 6 วิชาชีพ ได้แก่ ผู้ประกอบโรคศิลปะ ทนายความ วิศวกร สถาปนิก นักบัญชี และประณีตศิลป์ | 3% |
ค่าจ้างทำของ | 3% |
ค่าแสดงให้แก่นักแสดงสาธารณะ | 5% |
ค่าโฆษณา | 2% |
ค่าขนส่ง | 1% |
รางวัล ส่วนลด จากการส่งเสริมการขาย | 3% |
รางวัล จากการแข่งขัน ชิงโชค | 5% |
ขั้นตอนการยื่นภาษี ภ.ง.ด.3
ช่องทางการยื่นภาษี
วิธีเขียน ภ.ง.ด.3
ใน ภงด3 คือจะมีอยู่ 2 ใบคือ ใบหน้า ภงด3 และใบแนบ ภงด3 ซึ่งดูตัวอย่างได้ดังนี้
ส่วนที่ 1 : กรอกรายละเอียดเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ชื่อ ที่อยู่ เดือน ปี ที่ยื่นเสียภาษี และให้ติ๊กว่าเป็นการยื่นแบบปกติ หรือยื่นเพิ่มเติม
ส่วนที่ 2 : ให้ติ๊กว่านำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามกฎหมายใด และให้สรุปจำนวนรายที่หัก และจำนวนแผ่นที่นำส่ง
ปล. มาตรา 3 เตรส (อ่านว่า สาม-เต-ระ-สะ) – ส่วนใหญ่แล้วการหัก ณ ที่จ่ายทั่วๆไปจะเป็นไปตามมาตรา 3 เตรส
ลองดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรานี้ได้ครับ : การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร
มาตรา 48 ทวิ – ให้องค์การของรัฐบาลเสียภาษีเงินได้แทนผู้ขายสินค้าทอดหนึ่งทอดใดหรือทุกทอดที่ซื้อสินค้าขององค์การของรัฐบาล ตามวิธีการ อัตรา และประเภทสินค้าตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ทั้งนี้เฉพาะสำหรับเงินได้จากการขายสินค้านั้น
ดูรายละเอียเพิ่มเติมที่ : มาตรา 38-64
มาตรา 50 (3) (4) (5) – ให้บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคลผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมินตามวิธีดังต่อไปนี้
(3) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5) และ (6) ที่จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้
(4) นอกจากกรณีตาม (5) ในกรณีผู้จ่ายเงินตามมาตรานี้เป็นรัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น ซึ่งจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5)(6) (7) หรือ (8) แต่ไม่รวมถึงการจ่ายค่าซื้อพืชผลทางการเกษตรให้กับผู้รับรายหนึ่ง ๆ มีจำนวนรวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป แม้การจ่ายนั้นจะได้แบ่งจ่ายครั้งหนึ่งๆ ไม่ถึง 10,000 บาทก็ดี ให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 1 ของยอดเงินได้พึงประเมิน แต่เฉพาะเงินได้ในการประกวดหรือแข่งขัน ให้คำนวณหักตามอัตราภาษีเงินได้
(5) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) เฉพาะที่จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งขายอสังหาริมทรัพย์ ให้คำนวณหักดังต่อไปนี้
(ก) สำหรับอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา ให้คำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48(4) (ก) เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใด ให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้น
(ข) สำหรับอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่นนอกจาก (ก) ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48(4) (ข) เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใด ให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้น
ดูรายละเอียเพิ่มเติมที่ : มาตรา 38-64
ส่วนที่ 3 : ให้กรอกยอดสรุปภาษี ตามรายละเอียดดังนี้
- ยอดเงินได้ทั้งสิ้น (จำนวนเงินที่จ่ายทั้งสิ้น)
- ยอดภาษีที่นำส่งทั้งสิ้น
- เงินเพิ่ม (ถ้ามี)
- ยอดภาษีที่นำส่งทั้งสิ้นและเงินเพิ่ม
ส่วนที่ 4 : ลายเซ็นผู้ที่นำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ใบแนบ ภงด3 คือ
ใบนี้จะให้กรอกรายละเอียดการหัก ณ ที่จ่ายเป็นรายบุคคลโดยจะต้องกรอกข้อมูลดังนี้
- เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย
- ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ ของผู้ที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย
- วันเดือนปี ที่จ่าย
- ประเภทเงินได้พึงประเมินที่จ่าย
- อัตราภาษีร้อยละ
- จำนวนเงินที่จ่ายรวม
- จำนวนเงินที่หักรวม
- ลายเซ็นผู้ที่นำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย
การเอาข้อมูลจากหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ที่หักจากบุคคลธรรมดา มาใส่ใน ใบแนบ ภ.ง.ด.3 โดยใส่ชื่อ-นามสกุล เลขประจำตัวบัตรประชาชน ที่อยู่ วันเดือนปีที่ออกหนังสือฉบับนี้ ประเภทของเงินได้ (เช่น ค่าจ้าง ค่าบริการ ค่าเช่า) อัตราภาษีที่หัก จำนวนเงินที่จ่าย และภาษีที่เก็บจากเขามา
// ตัวอย่างการลงข้อมูลในใบแนบ ภ.ง.ด.3 //นำข้อมูลจากหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ที่หักจากบุคคลธรรมดา มาใส่ใน ใบแนบภ.ง.ด.3 โดยใส่ชื่อ-นามสกุล เลขประจำตัวบัตรประชาชน ที่อยู่ วันเดือนปีที่ออกหนังสือฉบับนี้ ประเภทของเงินได้ (เช่น ค่าจ้าง ค่าบริการ ค่าเช่า) อัตราภาษีที่หัก จำนวนเงินที่จ่าย และภาษีที่เก็บจากเขามา
ตัวอย่างการลงข้อมูลในใบแนบภ.ง.ด.3
ส่วน ใบภ.ง.ด.3 ให้ใส่ข้อมูลของกิจการของเรา เดือนที่จ่าย (เช่น ส่งของรอบเดือนมกราคมก็ใส่เครื่องหมายลงช่องมกราคม) ใส่รายละเอียดว่ามีใบแนบมากี่ใบ ยอดรวมของเงินได้ และยอดรวมของภาษีเวลานำส่งกรมสรรพากร หากนำส่งเฉพาะภาษี หัก ณ ที่จ่าย ของบุคคลธรรมดา จะมีเอกสาร ภ.ง.ด.3 (ใบปะหน้า) พร้อมใบแนบ ภ.ง.ด.3 (สำหรับลงรายละเอียด) ถ้าหากนำส่งเฉพาะภาษีหัก ณ ที่จ่ายของนิติบุคคล โดยบริษัทจะต้องนำส่งภาษีที่หักเอาไว้ให้แก่กรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
ข้อมูลจาก : กรมสรรพากร