รับข้อเสนอสุดพิเศษ!

ข้อมูลที่ใช้ในการยื่นงบการเงิน แล้วถ้ายื่นผิดต้องทำอย่างไร?

สองชายหนุ่มในชุดสูทกำลังนั่งพูดคุยเกี่ยวกับธุรกิจ บนโต๊ะทำงานที่เต็มไปด้วยเอกสาร

หากยื่นงบผิดแก้ไขได้หรือไม่

ในระบบยื่นงบออนไลน์ผ่าน DBD E-Filing เมื่อเราทำการยื่นงบไปแล้ว ก็จะมีผลบอกนะคะ ว่ายื่นสำเร็จหรือไม่ บางครั้งก็มีจุดผิดพลาดที่ระบบของ DBD E-Filing หรือ พนักงานตรวจสอบ ตรวจเจอข้อผิดพลาดนั้น แต่ก็ไม่ต้องตกใจไปนะคะ เราก็สามารถยื่นแก้ไขงบฯที่ระบบของ DBD E-Filingได้ค่ะ แต่ว่าก็จะต้องกรอกข้อมูล และทำเรื่องขอหลายขั้นตอนกว่าตอนที่ยื่นครั้งแรกนิดนึงค่ะ

สาเหตุของข้อผิดพลาดและต้องเช็คก่อนที่จะยื่นงบฯ

การแก้ไขตัวเลขในงบการเงินที่ส่งผลกระทบต่อยอดรวม

แก้ไขรอบบัญชีใหม่

ผู้สอบไม่ลงลายมือชื่อรับรอง หรือ ใบอนุญาตสิ้นผล

ข้อมูลใน ส.บช.3 ผู้ทำบัญชี ผู้สอบบัญชี รหัสธุรกิจ ประเภทธุรกิจ

การแก้ไขงบการเงินที่ไม่ส่งผลกระทบต่อยอดรวม

ไฟล์สแกนที่นำส่งครั้งแรก สแกนขาด/เกิน/ไม่ชัด

การ ยื่นงบการเงิน มีขั้นตอนและสิ่งที่ต้องรู้ ไม่น้อยเลยใช่ไหมคะ แต่ก็ต้องทำเพราะสิ่งที่กฏหมายกำหนดไว้ให้ปฏิบัติ ทั้งเจ้าของธุรกิจและนักบัญชี จะต้องศึกษาเกี่ยวกับการยื่นงบ กฏหมายและกฏระเบียบที่ถูกต้อง เพื่อให้กิจการเปิดเผยข้อมูลให้ถูกต้องและทันเวลาตามกำหนด และข้อมูลที่เราเปิดเผยไป ก็เป็นประโยชน์ในหลายระดับเลยค่ะ

ระดับกิจการ ก็เป็นประโยชน์ของตัวกิจการเอง ที่ได้รู้ถึงผลการดำเนินการของตนเอง หรือสามารถนำข้อมูลงบการเงินไปทำธุรกรรมต่างๆกับธนาคารได้ค่ะ

ระดับธุรกิจ ก็เป็นประโยชน์ของตัวกิจการอีกเช่นกัน ที่มีงบการเงินที่มีมาตรฐานที่ใช้กันทั้งประเทศ เป็นข้อมูลในการเปรียบเทียบกับกิจการอื่นได้ และสามารถไปค้นหาข้อมูลของคู่แข่ง เพื่อทำการวางกลยุทธ์ต่างๆ ในการบริหารได้ค่ะ

ระดับประเทศ ข้อมูลงบการเงินนำไปใช้วิเคราะห์เกี่ยวกับเศรษฐกิจภาพรวมระดับประเทศ อย่างเช่น GDP หรือ มูลค่าส่วนแบ่งการตลาดของแต่ละอุตสาหกรรม เป็นต้น

ประโยชน์ของการยื่นงบมีเยอะเลยใช่ไหมคะ เราก็มาทำงบการเงินให้ถูกต้อง และนำส่งตามที่กฏหมายกำหนดผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่ต้องนำส่งงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเป็นประจำทุกปี ให้ทันเวลากันค่ะ

ใครบ้างที่มีหน้าที่ในการส่งงบการเงินประจำปี?

สองชายหนุ่มสวมสูทกำลังจับมือกันยิ้มอย่างมีความสุข

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะต้องจัดให้มีการทำบัญชีนับแต่วันเริ่มทำบัญชี ดังต่อไปนี้

ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ให้เริ่มจัดทำบัญชีนับแต่วันที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย

นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทยให้เริ่มทำบัญชี นับแต่วันที่นิติบุคคลนั้นได้เริ่มต้นประกอบธุรกิจในประเทศไทย

กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากรให้เริ่มทำบัญชีนับแต่วันที่กิจการร่วมค้านั้นได้เริ่มต้นประกอบกิจการ

ข้อมูลเพิ่มเติม https://efiling.dbd.go.th/efiling-documents/dbd_law_account2543_Guilinebfinnste.pdf

งบการเงินคืออะไร ทำไมต้องปิดงบการเงิน?

นักบัญชีสองคนชี้ไปด้านข้าง พร้อมข้อความว่า "ต้องการบริการบัญชีหรือไม่"

การปิดงบการเงิน คือรายงานทางการเงินและบัญชี ที่แสดงให้เห็นสถานะการดำเนินงานของกิจการ ซึ่งประกอบด้วยงบแสดงฐานะทางการเงิน (งบดุล) งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด และงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น โดยหลังจากที่กิจการทำงบการเงินแล้ว จะต้องมีการปิดงบการเงิน เมื่อสิ้นรอบบัญชี เพื่อส่งให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าและสรรพากรตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น วันนี้เรามาทำความรู้จักกับการปิดงบการเงินกันค่ะ

การปิดงบการเงินคืออะไร แล้วใครต้องปิดงบการเงิน

การปิดงบการเงิน คือการจัดการกับงบการเงินเมื่อถึงกำหนดสิ้นรอบบัญชี เพื่อส่งงบการเงินให้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมสรรพากร โดยผู้ที่มีหน้าที่ปิดงบการเงินคือกิจการที่จดทะเบียนนิติบุคคล ซึ่งนิติบุคคลอย่างบริษัทจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด จะต้องปิดงบการเงินตามที่กฎหมายกำหนดปีละ 1 ครั้ง ที่สำคัญต้องจัดหาผู้ทำบัญชีและผู้ตรวจสอบบัญชีเพื่อจัดส่งงบการเงินตามกำหนด เพื่อหลีกเลี่ยงโทษปรับหากไม่ทำการส่งงบการเงิน

ทั้งนี้ การปิดงบการเงิน สำหรับบริษัททั่วไปจะดำเนินการโดยนักบัญชีในตำแหน่ง สมุห์บัญชี ผู้จัดการแผนกบัญชี ผู้ทำบัญชี เป็นพนักงานประจำของบริษัท แต่ถ้าเป็นบริษัทเปิดใหม่ บริษัทขนาดเล็ก หรือยังไม่มีเงินทุนมากพอในการจ้างพนักงานบัญชี ก็ยังมีสำนักงานบัญชี หรือผู้ทำบัญชีฟรีแลนซ์ ให้บริการรับปิดงบการเงิน รวมถึงบริการด้านบัญชีและภาษีอื่นๆ ด้วย

ข้อมูลเพิ่มเติม https://inflowaccount.co.th/closing-financial-statements-การปิดงบการเงิน/