รับข้อเสนอสุดพิเศษ!

ภ.ง.ด.1 คืออะไร? ทำความรู้จักกับภาษีเงินได้แบบเข้าใจง่าย

ภ.ง.ด.1

ในชีวิตประจำวัน เราต่างต้องพบเจอกับ “ภาษี” ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่รวมอยู่ในราคาสินค้า และภาษีสรรพสามิตที่บวกเพิ่มในสินค้าบางประเภท หรือแม้แต่ภาษีเงินได้ที่ถูกหักไว้จากเงินเดือน 

แล้วภาษีคืออะไรล่ะ? พูดง่ายๆก็คือ ภาษี คือ เงินที่ประชาชนจ่ายให้กับรัฐ เพื่อนำไปใช้พัฒนาประเทศ ทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค การศึกษา สาธารณสุข และอื่นๆ อีกมากมาย

ทีนี้ พอพูดถึง “ภาษีเงินได้” หลายคนอาจจะนึกถึงเอกสารมากมาย ที่ดูซับซ้อน เข้าใจยาก หนึ่งในนั้นก็คือ “แบบแสดงรายการภาษี” หรือที่เราเรียกกันสั้นๆ ว่า “แบบ ภ.ง.ด.” ซึ่งจริงๆ แล้ว แบบ ภ.ง.ด. มีอยู่หลายแบบ แยกตามลักษณะของรายได้และผู้ยื่นภาษี

หนึ่งในแบบแสดงรายการภาษีที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี คือ ภ.ง.ด.1 ซึ่งเป็นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ใช้สำหรับยื่นภาษีของ มนุษย์เงินเดือน หรือ พนักงานประจำในบริษัท ที่มีรายได้ประเภทเงินเดือน ค่าจ้าง 

ดังนั้น ในบทความนี้ เราจะพาไปทำความรู้จักกับ ภ.ง.ด.1 อย่างละเอียดแบบง่าย ๆ 

ภ.ง.ด.1 คืออะไร? ใช้ยื่นภาษีสำหรับใครบ้าง?

ภ.ง.ด. 1 หรือ “แบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย” เป็นเอกสารที่บริษัทหรือหน่วยงานจะต้องกรอกเพื่อรายงานการหักภาษีจากรายได้ของพนักงานหรือผู้มีรายได้ตามมาตรา 40 ซึ่งครอบคลุมทั้งเงินเดือน ค่าตอบแทนต่างๆ จากการทำงานประจำ เช่น โบนัส ค่าล่วงเวลา เบี้ยเลี้ยง 

(ตามประเภทเงินได้ 40(1)) รวมไปถึงรายได้ของผู้ที่ไม่ได้เป็นพนักงานประจำ เช่น ค่าจ้างทั่วไป ค่าคอมมิชชั่น ค่าเบี้ยประชุม 

(ตามประเภทเงินได้ 40(2)) โดยแสดงรายละเอียดภาษีที่ถูกหักไว้แล้ว ณ ที่จ่าย ให้แก่กรมสรรพากร

สรุปก็คือ แบบแสดงนี้ เป็นแบบยื่นแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับกรณีผู้จ่ายเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคมหรือคณะบุคคล ที่จ่ายเงินได้ประเภทเงินเดือน ค่าจ้าง ค่านายหน้า เป็นต้น ให้แก่ผู้เสียภาษีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดา โดยผู้จ่ายเงินได้ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 ภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน

ภ.ง.ด.1 มีไว้ทำอะไร? ยื่นเมื่อไหร่?

หลายคนอาจสงสัยว่า การยื่น ภ.ง.ด.1 นั้น มีไว้เพื่ออะไรกันแน่? จริงๆ แล้ว ภ.ง.ด.1 เป็นเสมือนการรายงานตัว และเคลียร์ภาษีกับกรมสรรพากรประจำปี เปรียบเหมือนการเช็คสุขภาพการเงินประจำปีของเรานั่นเอง

วัตถุประสงค์หลักของการยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 ก็คือ เพื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี โดยเราจะต้องนำรายได้ทั้งหมดที่ได้รับตลอดทั้งปีภาษี รวมถึงข้อมูลการหักลดหย่อนต่างๆ มาคำนวณ เพื่อดูว่าสุดท้ายแล้ว เราต้องจ่ายภาษีเพิ่ม หรือขอคืนภาษี

กำหนดการยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 คือ ภายในวันที่ 31 มีนาคม ของทุกปี (ยกเว้นกรณียื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต จะสามารถยื่นได้ถึงวันที่ 8 เมษายน) หากยื่นแบบหลังจากวันดังกล่าว จะถือว่ายื่นล่าช้า และอาจต้องเสียค่าปรับได้

ช่องทางการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 1 มี 2 ช่องทางหลักๆ คือ

  1. ยื่นผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นวิธีที่สะดวก รวดเร็ว และลดข้อผิดพลาด โดยสามารถยื่นได้ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร (www.rd.go.th)
  2. ยื่นด้วยตนเอง สามารถยื่นได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาที่ท่านสะดวก หรือ สาขาที่ท่านมีเงินได้ โดยสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 1 ได้จากเว็บไซต์กรมสรรพากรเช่นกัน

เตรียมตัวยื่น ภ.ง.ด.1 ต้องมีเอกสารอะไรบ้าง?

ก่อนที่เราจะเริ่มกรอกแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 1 สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ “เอกสารประกอบการยื่นภาษี” ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญที่ใช้ยืนยันรายได้ และการหักลดหย่อนต่างๆ โดยเอกสารหลักๆ ที่เราต้องเตรียม มีดังนี้

1. เอกสารยืนยันตัวตน (บัตรประจำตัวประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้าน(ถ้ามี))

2. เอกสารแสดงรายได้

  • หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (แบบ 50 ทวิ) ออกให้โดยบริษัทหรือนายจ้าง โดยจะระบุรายละเอียดเงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส และภาษีที่ถูกหักไว้แล้วตลอดทั้งปีภาษี
  • เอกสารแสดงรายได้อื่นๆ (ถ้ามี) เช่น
    • หนังสือรับรองดอกเบี้ยเงินฝาก (แบบ 50 ทวิ)
    • หนังสือรับรองการจ่ายเงินปันผล (แบบ 50 ทวิ)
    • เอกสารแสดงรายได้จากการขายทรัพย์สิน เป็นต้น

3. เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษี

เอกสารส่วนนี้ จะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าเรามีสิทธิลดหย่อนอะไรบ้าง โดยสามารถแบ่งเป็นหมวดหมู่หลักๆ ได้ดังนี้

  • ลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว
    • สูติบัตรบุตร (กรณีใช้สิทธิลดหย่อนบุตร)
    • ทะเบียนสมรส (กรณีใช้สิทธิลดหย่อนคู่สมรส)
    • ใบรับรองแพทย์ (กรณีใช้สิทธิลดหย่อนบิดา มารดา ที่มีรายได้ไม่เกินเกณฑ์)
  • ลดหย่อนจากการประกัน
    • กรมธรรม์ประกันชีวิต
    • กรมธรรม์ประกันสุขภาพ
    • ใบรับรองเบี้ยประกัน
  • ลดหย่อนจากกองทุนต่างๆ
    • หนังสือรับรองการลงทุนในกองทุน RMF
    • หนังสือรับรองการลงทุนในกองทุน SSF
    • ใบแจ้งยอดเงินสะสมกองกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)
  • ลดหย่อนอื่นๆ เช่น
    • ใบเสร็จรับเงินบริจาค
    • หนังสือแสดงสิทธิในทรัพย์สิน (กรณีซื้อบ้านหรือคอนโด)

หากยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 เกินกำหนดเวลา จะโดนโทษอะไรบ้าง?

ถ้าผู้จ่ายเงินซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย มิได้หักและนำส่ง หรือได้หักและนำเงินส่งแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง ผู้จ่ายเงินต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่ง หรือตามจำนวนที่ขาดไป แล้วแต่กรณีในกรณีที่ผู้จ่ายเงินได้หักภาษีไว้แล้ว ให้ผู้มีเงินได้ซึ่งต้องเสียภาษีพ้นความรับผิดที่ต้องชำระเงินภาษีเท่าจำนวนที่ผู้จ่ายเงินได้หักไว้ และให้ผู้จ่ายเงินรับผิดชำระภาษีจำนวนนั้นแต่ฝ่ายเดียว (มาตรา 54 แห่งประมวลรัษฎากร)

ถ้าผู้จ่ายเงินซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่นำเงินภาษีส่งภายในกำหนดเวลาตามกำหนด. จะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องนำส่ง ทั้งนี้ ให้คำนวณเงินเพิ่มเป็นรายเดือน (เศษของเดือน ให้นับเป็น 1 เดือน) นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบฯ จนถึงวันยื่นแบบฯ และนำส่งภาษี (มาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร)

ถ้าผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายไม่ยื่นแบบฯ ภายในกำหนดเวลาตามกำหนด เว้นแต่จะแสดงว่าได้มีเหตุสุดวิสัย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท (มาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร)

ผู้ใดโดยเจตนาไม่ยื่นรายการที่ต้องยื่น เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 37 ทวิแห่งประมวลรัษฎากร)

ข้อสรุป ภ.ง.ด.1 ไม่ยากอย่างที่คิด เตรียมตัวให้พร้อมยื่นให้ตรงเวลา

บทความนี้ได้พาทุกท่านไปทำความรู้จักกับแบบแสดงรายการภาษี ภ.ง.ด.1 ตั้งแต่ความหมาย ความสำคัญ เอกสารที่ต้องเตรียม รวมถึงบทลงโทษหากยื่นไม่ทันกำหนด เพื่อให้สามารถยื่นภาษีได้อย่างถูกต้อง มั่นใจ และไม่พลาดสิทธิประโยชน์ที่สำคัญ

แม้การยื่นภาษีจะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน แต่หากเราเตรียมตัวศึกษาข้อมูลให้ดี จัดเตรียมเอกสารให้พร้อม และยื่นแบบภายในเวลาที่กำหนด ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านทุกท่าน หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถแสดงความคิดเห็น หรือสอบถามเข้ามาที่ ชอบการบัญชี ได้เลยนะคะ

อ้างอิง : กรมสรรพากร

Disclosure Form สำคัญอย่างไร? ไขข้อข้องใจ ทำไมต้องมี?

ผู้หญิงกำลังอ่านเอกสารเกี่ยวกับแบบฟอร์มการเปิดเผยข้อมูล

เคยสงสัยไหมว่าทำไมบางธุรกิจถึงต้องกรอกเอกสาร Disclosure Form? เอกสารที่ดูเหมือนจะยุ่งยากนี้ จริงๆ แล้วมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในโลกธุรกิจและการเงิน Disclosure Form หรือแบบฟอร์มนี้ จะช่วยตรวจสอบข้อมูลของธุรกิจ 

เพราะเเบบฟอร์ม Disclosure Form ถูกออกแบบมาเพื่อให้มั่นใจได้ว่าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจนั้น ๆ ได้รับข้อมูลที่ครบถ้วน โปร่งใส และเป็นธรรม ซึ่งช่วยลดความเสี่ยง ลดปัญหา และสร้างความน่าเชื่อถือในระยะยาวของธุรกิจได้

 มาดูกันว่า Disclosure Form สำคัญอย่างไร? และใครบ้างที่จำเป็นต้องใช้บ้าง?

Disclosure Form คืออะไร?

Disclosure Form หรือ แบบรายงานประจำปี คือ เอกสารที่กรมสรรพากรกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันตามมาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรต้องจัดทำและยื่น เพื่อแสดงข้อมูลเกี่ยวกับธุรกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างบริษัทที่เกี่ยวข้อง และต้องยื่นพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการตามมาตรา 69 คือ ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งเป็นแบบรายงานที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับ

  1. รายชื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันที่ประกอบกิจการในประเทศไทย และไม่ได้ประกอบกิจการในประเทศไทย
  2. มูลค่าธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี
  3. ข้อมูลอื่นๆ เช่น ผู้มีหน้าที่จัดทำงบการเงินรวม การปรับปรุงโครงสร้างธุรกิจ การจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตนไปยังบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันหรือไม่ เป็นต้น

** ดังนั้น Disclosure Form ไม่ได้มีไว้ใช้เพื่อตรวจสอบภาษี แต่มีไว้เพื่อนำไปประเมินความเสี่ยงว่าบริษัทไหน มีความเสี่ยงมากในเรื่อง Transfer Pricing ถ้าประเมินแล้วมีความเสี่ยงมาก ก็อาจจะมีการขอตรวจสอบเพิ่มเติม **

ยกตัวอย่าง กรณีที่ 1 การถือหุ้น หรือถูกถือหุ้นมากกว่า 50% ทั้งทางตรงและทางอ้อม

บริษัท A ถือหุ้นในบริษัท B ไม่น้อยกว่า 50% จะถือว่าบริษัท A และบริษัท B มีความสัมพันธ์กันตามมาตรา 71 ทวิ วรรค 2 

ดังนั้นหากบริษัท A มีรายได้ 200 ล้านบาทขึ้นไป บริษัท A ต้องยื่นแบบ Disclosure form และรายงานในแบบว่ามีความสัมพันธ์กับบริษัท B และต้องเปิดเผยมูลค่าและต้องเปิดเผยรายการค้า (Transaction) ต่างๆ ที่ทำกับ B ในปีนั้นๆ

ในทางกลับกันบริษัท B หากมีรายได้เกิน 200 ล้านบาท ก็ต้องยื่นแบบ Disclosure form และรายงานในแบบว่ามีความสัมพันธ์กับบริษัท A และต้องเปิดเผยมูลค่า Transaction ต่างๆ ที่กับ A ในปีนั้นๆ ด้วยเหมือนกัน

ยกตัวอย่าง กรณีที่ 2 ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลหนึ่งไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมไม่น้อยกว่า 50% ของทุนทั้งหมด

บริษัท A ถือหุ้นในบริษัท B และ C ไม่น้อยกว่า 50% หากพิจารณาตามข้อ 2.2 จะถือว่าบริษัท B และบริษัท C มีความสัมพันธ์กัน  


ในกรณีนี้ถ้ามองเผินๆ อาจจะคิดว่าบริษัท B กับ C ไม่น่ามีความ สัมพันธ์กันแต่ว่าจริงๆ แล้วตาม ตาม 71 ทวิ วรรค 2 ข้อ 2.2 การที่บริษัท A ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 50% ทั้ง 2 บริษัท ก็ถือได้ว่าบริษัท A มีอำนาจ ควบคุมในบริษัททั้ง 2 บริษัทแล้ว การจะกระทำสั่งการให้เกิดการซื้อขายในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดก็ย่อมทำได้ ดังนั้นตามกฎหมายบริษัท B และ บริษัท C จึงถือว่ามีความสัมพันธ์กัน ทำให้ทั้งบริษัท B และ บริษัท C ต้องยื่นแบบเปิดเผยความสัมพันธ์ของกันและกัน และเปิดเผยมูลค่ารายการค้า (Transaction) ที่กระทำกันระหว่างปีด้วย

ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบรายงาน Disclosure Form คือใคร?

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีลักษณะ ดังนี้

1.นิติบุคคลหนึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่ง ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม

ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของทุนทั้งหมด หรือ ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลหนึ่ง ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของทุนทั้งหมด ไปถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่ง ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของทุนทั้งหมด

2.มีรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันตามงบการเงินเป็นจำนวนเกินกว่า 200 ล้านบาท (กฎกระทรวง ฉบับที่ 370ฯ ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2563)

(ในส่วนของความสัมพันธ์ด้านการจัดการ การควบคุม หรือด้านทุน ตามมาตรา 71 ทวิ วรรคสอง (2) ยังไม่มีผลใช้ปังคับ)

แบบฟอร์ม Disclosure Form มีข้อมูลอะไรบ้าง?

แบบฟอร์ม Disclosure Form มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงความโปร่งใส และป้องกันความขัดแย้ง

ทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นจากธุรกรรมระหว่างบริษัทที่มีความสัมพันธ์กัน โดยข้อมูลในแบบฟอร์มจะครอบคลุม 3 ส่วนหลัก ๆ ดังนี้

1. รายชื่อบริษัทที่มีความสัมพันธ์กัน

  • แสดงรายชื่อบริษัททั้งในประเทศไทยและต่างประเทศที่มีความสัมพันธ์กัน
  • ระบุสถานะความสัมพันธ์ เช่น บริษัทแม่ บริษัทย่อย บริษัทในเครือ
  • ระบุว่ามีรายการธุรกรรมระหว่างบริษัทที่มีความสัมพันธ์กันหรือไม่

2. มูลค่าธุรกรรมระหว่างกันในรอบระยะเวลาบัญชี

แสดงรายละเอียดและมูลค่าของธุรกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างบริษัทที่มีความสัมพันธ์กัน เช่น

  • รายได้จากการขายสินค้าหรือบริการ
  • รายได้อื่นๆ
  • ค่าใช้จ่ายในการซื้อวัตถุดิบหรือสินค้า
  • การซื้อ-ขายที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
  • รายจ่ายอื่นๆ
  • จำนวนเงินกู้ยืมและให้กู้ยืม ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี

3. ข้อมูลอื่นๆ (ถ้ามี)

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมระหว่างบริษัทที่มีความสัมพันธ์กันที่อยู่นอกเหนือจากส่วนที่ 1 และ 2 เช่น

  • การปรับปรุงโครงสร้างทางธุรกิจ
  • การจำหน่าย จ่าย โอนทรัพย์สินไม่มีตัวตน

ช่องทางการยื่น Disclosure Form มีอะไรบ้าง?

1.การยื่น Disclosure Form ให้ยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Website) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th ได้โดยตรงหรือผ่านทางระบบบริการ Single Sign On ทางเว็บไซต์ 

(Website) ของกระทรวงการคลัง เนื่องจากเป็นการยื่นออนไลน์ ( E-FILING ) กรมสรรพากร ได้ขยายเวลาการยื่นเพิ่มอีก 8 วัน เป็นภายใน 158 วันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี

2.หากมีเหตุจำเป็นที่ทำให้ไม่สามารถยื่น e-Fling ได้ ผู้ประกอบการสามารถพิมพ์ Disclosure Form จากระบบ เพื่อนำแบบรายงานที่เป็นกระดาษไปยื่น พร้อมกับทำหนังสือแจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรถึงเหตุอันสมควรที่ไม่สามารถยื่น e-Filing ได้ โดยยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

หากไม่ยื่น Disclosure Form ตามกำหนดจะมีโทษอย่างไร

มาตรา 35 ตรี ตามประมวลรัษฎากร กำหนดโทษสำหรับนิติบุคคลที่ไม่ยื่นรายงานหรือเอกสาร

หรือหลักฐานตามแบบที่อธิบดีกำหนด หรือแสดงข้อมูลไม่ถูกต้องครบถ้วน โดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือไม่ยื่นภายในกำหนดเวลา ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท”

อย่างไรก็ตาม กรมสรรพากร ได้กำหนดอัตราที่ควรเปรียบเทียบปรับไว้ สำหรับการยื่นรายงานเกินกำหนดเวลา สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ดังนี้

  • ไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา ปรับ 50,000 บาท
  • เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา ปรับ 100,000 บาท
  • เจ้าหน้าที่ตรวจพบ ปรับ 200,000 บาท

บทสรุป Disclosure Form เอกสารสำคัญสำหรับธุรกิจ

การทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ไม่ได้หมายความแค่การสร้างผลกำไรเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฎหมายและโปร่งใส ซึ่ง Disclosure Form  เปรียบเสมือนกุญแจสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจของคุณบรรลุเป้าหมายนั้น ช่วยให้ธุรกรรมระหว่างบริษัทที่เกี่ยวข้องมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้และป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ที่อาจเกิดขึ้นจากธุรกรรมระหว่างบริษัทที่มีความสัมพันธ์กัน

ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Disclosure Form สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของกรมสรรพากร

ข้อมูจาก: กรมสรรพากร, https://goldtraders.or.th/

timeline การนำส่งงบการเงินของนิติบุคคล

Timeline การสร้างงานบัญชีที่ยอดเยี่ยม

กลับมาอีกครั้งสำหรับฤดูกาลปิดงบการเงิน ยื่นงบการเงิน และยื่นภาษี ประจำปี  นักบัญชีและเจ้าของกิจการอย่าลืมวงปฏิทิน deadline วันสุดท้าย ด้านล่างนี้กันไว้นะคะ  จะได้ไม่พลาดไม่โดนค่าปรับค่ะ

วันสุดท้ายสำหรับการยื่นงบการเงิน ยื่นภาษีบริษัท 2567

สำหรับ “บริษัทจำกัด” ที่มีวันสิ้นรอบปีบัญชี คือ 31 ธันวาคม 2566 จะต้องปิดงบการเงิน ยื่นงบการเงิน และยื่นภาษีบริษัทประจำปี ภายในวันสุดท้ายดังนี้

** กรณียื่นออนไลน์ขยายเวลาตามที่กฎหมายกำหนด

#ปิดงบการเงิน #ปิดงบประจำปี2566 #นิติบุคคล #ยื่นภาษี #ยื่นภาษีออนไลน์ #รับปิดงบการเงิน

ทางสำนักงานบัญชีคุณภาพ เรามีบริการดูแลคุณลูกค้าทางด้านบัญชีและภาษีแบบครบวงจร

✅ รับทำบัญชี และยื่นภาษี/รายเดือน

✅ รับจดทะเบียนบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทะเบียนพาณิชย์

✅ แก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารของธุรกิจ

✅ ปิดงบการเงินประจำปี 

✅ ตรวจสอบบัญชี

✅ ให้คำปรึกษาและวิเคราะห์วางแผนทางด้านบัญชี และภาษีอากร

สอบถามข้อมูลและขอรับคำปรึกษาได้ที่

📩 Inbox : m.me/ChobAccounting

📱 โทร: 094-1594561, 098-8896262

🖥️ เว็บไซต์: https://chobaccounting.co.th/

✅ Line OA: @chobaccounting

หรือ คลิ๊ก https://lin.ee/VY2jgnO

▶️ Facebook : https://www.facebook.com/ChobAcct

📷 Tiktok : https://www.tiktok.com/@chobaccouting_online

🟥 Youtube : https://www.youtube.com/@ChobAccounting

🏢 สำนักงานตั้งอยู่ที่ บริษัท ชอบการบัญชี จำกัด เลขที่ 517/89 

ถนน มิตรภาพ-หนองคาย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง นครราชสีมา 30000 

เปิดทำการทุกวันจันทร์ – วันเสาร์

เวลา 08.00 – 17.00 น.

( หยุดวันอาทิตย์และนักขัตฤกษ์ )

ความผิดถ้าไม่ชำระภาษีในเวลาที่กำหนด?

นักบัญชีสองคนกำลังคิดอย่างจริงจัง พร้อมข้อความ "กวาดล้างระบบบัญชีเก่า"

ถ้าไม่ชำระในกำหนดเวลาหรือชำระไม่ถูกต้องจะมีความรับผิดอย่างไรบ้าง?

เบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ถือเป็นบทลงโทษเกี่ยวกับภาษีอากรอย่างหนึ่ง และอาจมีโทษทางอาญาด้วย แล้วแต่ความผิดว่าเป็นเรื่องร้ายแรงขั้นไหน โดยหากบุคคลใดยื่นแบบฯ ภายในกำหนดแต่ชำระภาษีไม่ครบถ้วน หรือยื่นแบบฯ ล่าช้า ละเลย หรือหลีกเลี่ยงการยื่นแบบฯ จะต้องเสียเงินเพิ่มและเบี้ยปรับตามกฎหมายกำหนด และหากฝ่าฝืนไม่ยอมชำระ ก็ต้องรับโทษทางอาญาด้วย ซึ่งมีบทลงโทษ ดังนี้

กรณีไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลา จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน (เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน) ของเงินภาษีที่ต้องชำระนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี     

กรณีเจ้าพนักงานตรวจสอบออกหมายเรียก และปรากฏว่ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการไว้หรือยื่นแบบแสดงรายการไว้แต่ชำระภาษีขาดหรือต่ำไป นอกจากจะต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มแล้ว ยังจะต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีก 1 เท่าหรือ 2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระแล้วแต่กรณี เงินเบี้ยปรับดังกล่าวอาจลดหรืองดได้ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี     

กรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90, 91 หรือ 94 ภายในกำหนดเวลา ต้องระวางโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท      

กรณีจงใจ แจ้งข้อความเท็จ หรือแสดงหลักฐานเท็จหรือฉ้อโกง เพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 200,000 บาท

กรณีเจตนาละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร มีโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

ที่มา : กรมสรรพากร https://www.rd.go.th/562.html 

#ภาษี #ภาษีเงินได้ #บุคคลธรรมดา #ยื่นภาษี #ยื่นภาษีออนไลน์

ทางสำนักงานบัญชีคุณภาพ เรามีบริการดูแลคุณลูกค้าทางด้านบัญชีและภาษีแบบครบวงจร

✅ รับทำบัญชี และยื่นภาษี/รายเดือน

✅ รับจดทะเบียนบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทะเบียนพาณิชย์

✅ แก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารของธุรกิจ

✅ ปิดงบการเงินประจำปี 

✅ ตรวจสอบบัญชี

✅ ให้คำปรึกษาและวิเคราะห์วางแผนทางด้านบัญชี และภาษีอากร

สอบถามข้อมูลและขอรับคำปรึกษาได้ที่

📩 Inbox : m.me/ChobAccounting

📱 โทร: 094-1594561, 098-8896262

🖥️ เว็บไซต์: https://chobaccounting.co.th/

✅ Line OA: @chobaccounting

หรือ คลิ๊ก https://lin.ee/VY2jgnO

▶️ Facebook : https://www.facebook.com/ChobAcct

📷 Tiktok : https://www.tiktok.com/@chobaccouting_online

🟥 Youtube : https://www.youtube.com/@ChobAccounting

🏢 สำนักงานตั้งอยู่ที่ บริษัท ชอบการบัญชี จำกัด เลขที่ 517/89 

ถนน มิตรภาพ-หนองคาย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง นครราชสีมา 30000 

เปิดทำการทุกวันจันทร์ – วันเสาร์

เวลา 08.00 – 17.00 น.

( หยุดวันอาทิตย์และนักขัตฤกษ์ )

ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดายื่นได้ที่ไหน? และมีวิธีการใดบ้าง?

นักธุรกิจสองคนสงสัยเกี่ยวกับการลดหย่อนภาษี

การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90  91 ผ่านอินเทอร์เน็ต

ขั้นตอนการยื่นแบบฯ

1. เข้า web site ของกรมสรรพากรที่  www.rd.go.th
2. เลือกรายการ e-FILING
3. เข้าใช้บริการครั้งแรก ให้เลือกรายการสมัครใช้บริการ
4. หลังจากนั้น เข้าระบบตามขั้นตอน ดังนี้ 


5. ป้อนรายการข้อมูล ได้แก่ รายการเงินได้ ค่าลดหย่อน เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่าย ฯลฯ
แล้ว คลิก “ตกลง” เพื่อยืนยันการยื่นแบบฯ
6. เมื่อได้ตรวจสอบรายการข้อมูลที่บันทึกและสั่งให้ระบบ “คำนวณภาษีแล้ว”
    6.1 กรณีไม่มีภาษีต้องชำระ
        (1) โปรแกรมจะแจ้งผลการรับแบบและหมายเลขอ้างอิง เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการยื่นแบบฯ
        (2) กรมสรรพากรจะส่งใบเสร็จรับเงินทันที
    6.2 กรณีมีภาษีต้องชำระ
        (1) หากเลือกวิธีชำระภาษีผ่าน e-payment ระบุธนาคารที่ท่านใช้บริการอยู่ และดำเนินการตามขั้นตอนของ ธนาคารนั้น
        (2) หากเลือกวิธีชำระภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคาร ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการชำระภาษีจะถูกส่งจากกรมสรรพากรไปยังธนาคารโดยตรง เมื่อผู้เสียภาษียืนยันการทำรายการของระบบชำระเงินของธนาคารแล้ว ธนาคารจะแจ้งผลการทำรายการ เช่น ผลการโอนเงิน การยกเลิกการทำรายการ เป็นต้น ส่งให้กรมสรรพากรแบบทันทีทันใด (Real Time)
        (3) หากเลือกวิธีชำระภาษี ณ เคาน์เตอร์ ไปรษณีย์อัตโนมัติ (Pay at Post) ระบบจะแจ้งรายการข้อมูลเช่นเดียวกับ (2) เพื่อใช้เป็นข้อมูลนำไปชำระภาษี ณ ที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่ง (ยกเว้น ปณ. โสกเชือก จ. ร้อยเอ็ด และ ปณ. ชุมแสงสงคราม จ.พิษณุโลก

ขั้นตอนการชำระภาษี

เมื่อได้ทำรายการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91 ผ่านอินเทอร์เน็ตเรียบร้อยแล้ว และเป็นกรณีที่มีภาษีต้องชำระ ผู้ใช้บริการจะต้องชำระภาษีทั้งจำนวนในวันใดก็ได้ภายในกำหนดเวลายื่นแบบ โดยมีทางเลือกในการชำระภาษีวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้

1. การชำระภาษีผ่านบริการอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารพาณิชย์

  1.1 การชำระภาษีผ่าน e-payment เป็นระบบการชำระเงินพร้อมกับการยื่นรายการข้อมูลตามแบบ

    (1) ผู้ใช้บริการต้องทำความตกลงกับธนาคารไว้แล้ว
    (2) เลือกธนาคารที่ต้องการสั่งโอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารเพื่อชำระภาษี
    (3) ทำรายการโอนเงินตามขั้นตอนของธนาคาร
    (4) เมื่อทำรายการโดยครบถ้วนแล้วโปรแกรมจะแจ้ง หมายเลขอ้างอิง การยื่นแบบฯ และชำระภาษีให้
    (5) กรมสรรพากรจะส่งใบเสร็จรับเงินทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามที่อยู่ที่แสดงในแบบให้โดยเร็ว

  1.2 การชำระวิธีอื่น

    (1) เลือกบริการชำระภาษี
    (2) ป้อนข้อมูลหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี รหัสควบคุม และจำนวนภาษีที่ต้องชำระที่ได้จากโปรแกรมการยื่นแบบฯ ผ่านอินเทอร์เน็ต
    (3) หากข้อมูลตามข้อ (2) ถูกต้องธนาคารจะโอนเงินจากบัญชีเงินฝากของท่านเข้าบัญชีกรมสรรพากรเพื่อชำระภาษี
    (4) กรมสรรพากร จะส่งใบเสร็จรับเงินทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามที่อยู่ที่ได้ลงทะเบียนไว้ในแบบฯให้โดยเร็ว
หมายเหตุ กรณีชำระผ่านเครื่อง ATM ต้องเป็นเครื่อง ATM ของธนาคารผู้ออกบัตรเท่านั้น
 

2. การชำระเงินทางไปรษณีย์ Pay at Post ให้นำรายการข้อมูลที่ได้รับจากระบบได้แก่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร รหัสควบคุม จำนวนเงินภาษี ไปชำระเงินภาษีอากรได้ที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศ (ยกเว้น ปณ. โสกเชือก จ.ร้อยเอ็ด และ ปณ.ชุมแสงสงคราม จ. พิษณุโลก) กรมสรรพากรจะส่งใบเสร็จรับเงินทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามที่อยู่ที่ได้ลงทะเบียนไว้ให้โดยเร็ว

#ภาษี #ภาษีเงินได้ #บุคคลธรรมดา #ยื่นภาษี #ยื่นภาษีออนไลน์

ทางสำนักงานบัญชีคุณภาพ เรามีบริการดูแลคุณลูกค้าทางด้านบัญชีและภาษีแบบครบวงจร

✅ รับทำบัญชี และยื่นภาษี/รายเดือน

✅ รับจดทะเบียนบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทะเบียนพาณิชย์

✅ แก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารของธุรกิจ

✅ ปิดงบการเงินประจำปี

✅ ตรวจสอบบัญชี

✅ ให้คำปรึกษาและวิเคราะห์วางแผนทางด้านบัญชี และภาษีอากร

สอบถามข้อมูลและขอรับคำปรึกษาได้ที่

📩 Inbox : m.me/ChobAccounting

📱 โทร: 094-1594561, 098-8896262

🖥️ เว็บไซต์: https://chobaccounting.co.th/

✅ Line OA: @chobaccounting

หรือ คลิ๊ก https://lin.ee/VY2jgnO

▶️ Facebook : https://www.facebook.com/CHOBAcct

📷 Tiktok : https://www.tiktok.com/@chobaccouting_online

🟥 Youtube : https://www.youtube.com/@ChobAccounting

🏢 สำนักงานตั้งอยู่ที่ บริษัท ชอบการบัญชี จำกัด เลขที่ 517/89

ถนน มิตรภาพ-หนองคาย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง นครราชสีมา 30000

เปิดทำการทุกวันจันทร์ – วันเสาร์

เวลา 08.00 – 17.00 น.

( หยุดวันอาทิตย์และนักขัตฤกษ์ )

5 แอปพลิเคชันช่วยคำนวณภาษี ฟรี 

มือถือแสดงแอปพลิเคชันต่างๆ พร้อมข้อความ "5 แอปพลิเคชัน ช่วยจัดบัญชี"

เชื่อว่าหลาย ๆ คนต้องเคยเจอกับปัญหาในการคำนวณภาษีแน่นอน ไม่รู้ว่าคิดยังไงหรือว่าคำนวณแบบไหน ปัจจุบันการคำนวณภาษีไม่ได้เป็นเรื่องยากอีกต่อไป เพราะสมัยนี้เค้ามีแจกฟรี “แอปพลิเคชันคำนวณภาษี” ให้โหลดเยอะแยะมากมาย 

วันนี้ชอบการบัญชีได้รวบรวม “แอปพลิเคชันคำนวณภาษี” มาให้ 5 แอปพลิเคชัน คือ RD Smart Tax, iTAX PRO PIT 90, PIT 91 และ Tax Instead ให้ได้อ่านแล้วเลือกใช้ให้เหมาะกับตนเอง เพราะแต่ละแอปพลิเคชันการใช้งานจะแตกต่างกันออกไปนะคะ

1. RD Smart Tax

เป็นแอปพลิเคชันทางการของกรมสรรพากรโดยตรง ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้เสียภาษี และบุคคลธรรมดาทั่วไป โดยในตัวแอปพลิเคชันจะมีการแจ้งข่าวสารเรื่องราวของกฎหมายที่ออกใหม่จากกรมสรรพากร สื่อความรู้อิเล็กทรอนิกส์ และตัวช่วยในการคำนวณภาษี ทั้งหมดนี้ยังไม่รวมการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.91 ภายในกำหนดเวลา สามารถจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้ไว้คำนวณปีถัดไปได้ แล้วก็สามารถยื่นภาษีแบบออนไลน์ได้อีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นแอปพลิเคชันที่ค่อนข้างครบจบในตัวเดียวเลย สามารถใช้ได้ทั้ง iOS / Android

2. iTAX PRO

แอปพลิเคชันตัวนี้สามารถเติมเต็มความต้องการของผู้ที่มีปัญหาอย่างมากในการคำนวณภาษี สามารถวางแผนภาษีได้ 3 รูปแบบ ซึ่งสามารถเลือกกรอกรายการในส่วนของรายได้ และลดหย่อนต่าง ๆ ได้ ตัวรูปแบบเค้าจัดได้เป็นระเบียบไม่สับสนเลยสักนิด จะมีหน้ารายได้เงินปันผลที่พี่ทุยค่อนข้างปลื้ม เพราะเราสามารถเลือกได้ทันทีว่าจะรวมคำนวณหรือไม่ ทำให้เราสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าควรจะใช้เครดิตภาษีเงินปันผลดีไหม และยังมีฟังก์ชันการวางแผนประหยัดภาษีอีกด้วยนะ ซึ่ง iTAX PRO เนี่ย จะคำนวณตัวเลขออกมาเพื่อให้ผู้ใช้งานรู้ถึงจำนวนเงินที่ต้องจ่ายเพิ่มหรือได้รับเงินคืนล่วงหน้าอีกด้วย ตัว iTAX PRO จะสีค่อนข้างสะอาดตา ใช้งานง่าย เหมาะสำหรับคนที่ชอบอะไรแบบเรียบง่าย ใช้ได้ทั้ง iOS / Android

3. PIT 90

แอปพลิเคชันนี้จะสามารถสรุปผลการคำนวณมาให้ดูแบบละเอียดเลยหล่ะ เหมาะสำหรับคนที่กำลังเตรียมยื่น ภ.ง.ด.90 สำหรับคนที่มีรายได้หลายประเภท ด้วยรูปแบบของแอปพลิเคชันตัวนี้ จะเห็นชัดทุกขั้นตอน ค่อนข้างเข้าใจง่ายและละเอียด ว่าต้องกรอกข้อมูลอะไรบ้าง เมื่อกรอกข้อมูลครบถ้วนทั้งหมด เจ้า PIT 90 เนี่ย ก็จะคำนวณออกมาให้แบบเสร็จสมบูรณ์ แอปพลิเคชันนี้จะมีความน่ารักสดใส ดูง่าย เหมาะสำหรับคนที่ไม่ชอบอะไรแบบทางการมาก แล้วก็เหมาะกับผู้ที่มีเงินได้หลายประเภท แนะนำให้โหลดติดมือถือไว้ได้เลย ใช้ได้ทั้ง iOS / Android

4. PIT 91

แอปพลิเคชัน PIT 91 จะคล้าย ๆ กับ PIT 90 แต่ต่างกันตรงที่ว่าเจ้า PIT 91 เนี่ย มีเอาไว้คำนวณภาษีสำหรับคนที่กำลังเตรียมตัวยื่น ภ.ง.ด.91 หรือง่าย ๆ สำหรับมนุษย์เงินเดือนเป็นหลักเนี่ยแหละ ใช้ง่ายไม่แตกต่างกัน สามารถรวมภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายทั้งปีมาให้พร้อมกันได้ แจกแจงรายละเอียดของเงินภาษีที่ต้องชำระจริง  มีตัวช่วยคำนวณเพียงแค่กรอกเลขเท่านั้น ใช้งานง่ายมากพี่ทุยลองใช้แล้ว ตัวรูปแบบแอปพลิเคชันเค้าก็น่ารัก ใช้ได้ทั้ง iOS / Android

5. Tax Instead

แอปพลิเคชันนี้เป็นเครื่องมือที่ช่วยฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายทรัพยากรบุคคล ในการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายออกแทน กรณีที่กิจการตกลงรับผิดชอบภาษีเงินได้ให้กับพนักงานคนสำคัญ หรือแม้แต่ตัวผู้บริหารเองโดยที่โปรแกรมจะนำข้อมูลเงินได้เช่น เงินเดือน, ค่านายหน้า, โบนัส หรืออื่น ๆ มารวมเป็นรายได้ และหักค่าใช้จ่ายให้โดยอัตโนมัติ รวมถึงนำค่าลดหย่อนที่กรอกเข้าไปมาหักเพื่อคำนวณภาษี โดยโปรแกรมจะแจ้งเตือนกรณีที่กรอกค่าลดหย่อนต่าง ๆ เกินเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด เพียงเท่านี้ก็จะรู้แล้วว่ากิจการต้องออกภาษีแทนให้เท่าไหร่ พนักงานจะได้รับเงินในแต่ละเดือนเท่าไหร่ ถือว่าเป็นแอปพลิเคชันที่ค่อนข้างมีรายละเอียดเยอะหน่อย แต่สีสันนี่น่ารักเชียวล่ะ ใช้ได้ทั้ง iOS / Android

#ภาษี #ภาษีเงินได้ #บุคคลธรรมดา #ยื่นภาษี #ยื่นภาษีออนไลน์

ทางสำนักงานบัญชีคุณภาพ เรามีบริการดูแลคุณลูกค้าทางด้านบัญชีและภาษีแบบครบวงจร

✅ รับทำบัญชี และยื่นภาษี/รายเดือน

✅ รับจดทะเบียนบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทะเบียนพาณิชย์

✅ แก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารของธุรกิจ

✅ ปิดงบการเงินประจำปี

✅ ตรวจสอบบัญชี

✅ ให้คำปรึกษาและวิเคราะห์วางแผนทางด้านบัญชี และภาษีอากร

สอบถามข้อมูลและขอรับคำปรึกษาได้ที่

📩 Inbox : m.me/ChobAccounting

📱 โทร: 094-1594561, 098-8896262

🖥️ เว็บไซต์: https://chobaccounting.co.th/

Line OA: @chobaccounting

หรือ คลิ๊ก https://lin.ee/VY2jgnO

▶️ Facebook : https://www.facebook.com/CHOBAcct

📷 Tiktok : https://www.tiktok.com/@chobaccouting_online

Youtube : https://www.youtube.com/@ChobAccounting

🏢 สำนักงานตั้งอยู่ที่ บริษัท ชอบการบัญชี จำกัด เลขที่ 517/89

ถนน มิตรภาพ-หนองคาย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง นครราชสีมา 30000

เปิดทำการทุกวันจันทร์ – วันเสาร์

เวลา 08.00 – 17.00 น.

( หยุดวันอาทิตย์และนักขัตฤกษ์ )

ยื่นภาษีด้วยแบบแสดงรายการอะไรบ้าง?

นักบัญชี ด้วยแบบและองรายการอะไรบ้าง ?

แบบแสดงรายการที่ใช้มีดังต่อไปนี้

ชื่อแบบใช้ยื่นกรณีกำหนดเวลายื่น
ภ.ง.ด. 90มีเงินได้พึงประเมินทุกประเภทมกราคม – มีนาคม ของปีภาษีถัดไป
ภ.ง.ด. 91มีเฉพาะเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1ม.40(1) ประเภทเดียวมกราคม – มีนาคม ของปีภาษีถัดไป
ภ.ง.ด. 93มีเงินได้ขอชำระภาษีล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดเวลาการยื่นแบบตามปกติ
ภ.ง.ด. 94ยื่นครึ่งปีสำหรับผู้มีเงินได้พึงประเมินเฉพาะประเภทที่ 5,6,7 และ 8กรกฎาคม – กันยายน ของปีภาษีนั้น
ภ.ง.ด. 95คนต่างด้าวผู้มีเงินได้จากการาจ้างแรงงานจากสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคมกราคม – มีนาคม ของปีภาษีถัดไป

การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามี 2 ระยะ คือ

1. “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี” เป็นการยื่นแบบแสดงรายการเงินได้เฉพาะเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5,6,7 หรือ 8 ที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายนไม่ว่าจะมีเงินได้ประเภทอื่นรวมอยู่ด้วยหรือไม่ก็ตาม โดยยื่นภายในเดือนกันยายนของปีภาษีนั้น และภาษีที่เสียนี้นำไปเป็นเครดิตหักออกจากภาษีสิ้นปีได

2. “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี” เป็นการยื่นแบบแสดงรายการเงินได้พึงประเมินที่ได้รับแล้ว ในระหว่างปีภาษี โดยยื่นภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป

สามารถโหลดแบบแสดงรายการภาษี ได้ที่ : 

ภ.ง.ด. 90 : https://www.rd.go.th/fileadmin/tax_pdf/pit/2566/271266PIT90.pdf

ภ.ง.ด. 91 : https://www.rd.go.th/fileadmin/tax_pdf/pit/2566/271266PIT91.pdf 

ภ.ง.ด. 93 : https://www.rd.go.th/fileadmin/tax_pdf/pit/PIT93_120158.pdf

ภ.ง.ด. 94 : https://www.rd.go.th/fileadmin/tax_pdf/pit/2566/300666PIT94.pdf

ภ.ง.ด.95 : https://www.rd.go.th/fileadmin/tax_pdf/pit/PIT95_291260.pdf

ประเภทภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

สองนักธุรกิจกำลังดูข้อมูลทางบัญชีบนแท็บเล็ต

สำหรับผู้ที่ต้องการอยากรู้ว่า ท่านจำเป็นต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ ? วันนี้ชอบการบัญชี เรานำข้อมูลเกี่ยวกับ “ประเภทภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” มาฝากเพื่อนๆกันค่ะ

โดยทั่วไป เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เรียกว่า “เงินได้พึงประเมิน” หมายถึง เงินได้อันเข้าลักษณะพึงต้องเสียภาษีเงินได้ ซึ่งเกิดจากหน้าที่งานที่ทำ กิจการที่ทำหรือเนื่องจากทรัพย์สิน ได้แก่ เงิน ทรัพย์สิน ประโยชน์อื่นใดที่คำนวณได้เป็นตัวเงิน เงินภาษีที่ผู้จ่ายออกแทน หรือเครดิตภาษี ตามที่กฎหมายกำหนด 

เมื่อใดที่ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีภาษีจะมีหน้าที่ต้องยื่นแบบฯ ก็ต่อเมื่อมีเงินได้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ว่าเมื่อคำนวณภาษีแล้วจะมีภาษีต้องชำระเพิ่มเติมหรือไม่ก็ตาม ดังนี้
      เกณฑ์เงินได้พึงประเมินขั้นต่ำที่ผู้มีเงินได้ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี
      (1) บุคคลธรรมดาและผู้ถึงแก่ความตาย มีเงินได้พึงประเมิน ดังนี้

ประเภทเงินได้โสดสมรส
เงินเดือนเพียงอย่างเดียว120,000220,000
เงินได้ประเภทอื่น60,000120,000

      (2) ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล มีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000 บาท
      (3) กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง มีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000 บาท

นอกจากนี้ เนื่องด้วยผู้มีเงินได้ประกอบอาชีพแตกต่างกัน มีความยากง่ายหรือต้นทุนที่แตกต่างกัน เพื่อความ เป็นธรรม ในกฎหมายจึงได้แบ่งลักษณะเงินได้(พึงประเมิน) ออกเป็นกลุ่มๆ ตามความเหมาะสมเพื่อกำหนด วิธีคำนวณภาษีให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุด ดังนี้

1. เงินได้ประเภทที่ 1 ได้แก่ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ไม่ว่าจะเป็น

– เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ
– เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากนายจ้าง
– เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ซึ่งนายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
– เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใด ๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ
– เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน เช่น มูลค่าของการได้รับประทานอาหาร เป็นต้น

2. เงินได้ประเภทที่ 2 ได้แก่ เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็น

– ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด
– เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส
– เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับเนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้
– เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
– เงินที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายชำระหนี้ใด ๆ ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชำระ
– เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือ จากการรับทำงานให้นั้น ไม่ว่าหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว

3. เงินได้ประเภทที่ 3 ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะ เป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล

4. เงินได้ประเภทที่ 4 ได้แก่ ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร   เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น ฯลฯ เป็นต้น
      (ก) ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ไม่ว่าจะมี หลักประกันหรือไม่ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว หรือผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอน กับราคาจำหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น เป็นผู้ออกและจำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน รวมทั้งเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกันกับดอกเบี้ย ผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนอื่น ๆ ที่ได้จากการให้กู้ยืมหรือจากสิทธิเรียกร้องในหนี้ทุกชนิดไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ตาม
      (ข) เงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกำไร หรือประโยชน์อื่นใดที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กองทุนรวม หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายไทยให้จัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะสำหรับให้กู้ยืมเงิน ฯลฯ
      (ค) เงินโบนัสที่จ่ายแก่ผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
      (ง) เงินลดทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไรและเงินที่กันไว้รวมกัน
      (จ) เงินเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งจากกำไรที่ได้มาหรือรับช่วงกันไว้รวมกัน
      (ฉ) ผลประโยชน์ที่ได้จากการที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากันหรือรับช่วงกันหรือ เลิกกัน ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน
      (ช) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วนหรือโอนหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตั๋วเงิน หรือ ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้เฉพาะซึ่งตีราคา เป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน
      เงินได้ประเภทที่ 4 ในหลาย ๆ กรณี กฎหมายให้สิทธิที่จะเลือกเสียภาษีโดยวิธีหักภาษี ณ ที่จ่าย แทนการนำไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่นตามหลักทั่วไป ซึ่งจะทำให้ผู้มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามบัญชีอัตราภาษี ในอัตราที่สูงกว่าอัตราภาษี หัก ณ ที่จ่าย สามารถประหยัดภาษีได้

5. เงินได้ประเภทที่ 5 เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เงินหรือประโยชน์อย่างอื่น ที่ได้เนื่องจาก
– การให้เช่าทรัพย์สิน
– การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน
– การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว

6. เงินได้ประเภทที่ 6 ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอื่นซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้ 

7. เงินได้ประเภทที่ 7 ได้แก่ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ 

8. เงินได้ประเภทที่ 8 ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 แล้ว

ที่มา :: https://www.rd.go.th/553.html 

#ภาษี #ภาษีเงินได้ #บุคคลธรรมดา #ยื่นภาษี #ยื่นภาษีออนไลน์

ทางสำนักงานบัญชีคุณภาพ เรามีบริการดูแลคุณลูกค้าทางด้านบัญชีและภาษีแบบครบวงจร

รับทำบัญชี และยื่นภาษี/รายเดือน

รับจดทะเบียนบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทะเบียนพาณิชย์

แก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารของธุรกิจ

ปิดงบการเงินประจำปี

ตรวจสอบบัญชี

ให้คำปรึกษาและวิเคราะห์วางแผนทางด้านบัญชี และภาษีอากร

สอบถามข้อมูลและขอรับคำปรึกษาได้ที่

Inbox : m.me/ChobAccounting

โทร: 094-1594561, 098-8896262

เว็บไซต์: https://chobaccounting.co.th/

Line OA: @chobaccounting

หรือ คลิ๊ก https://lin.ee/VY2jgnO

Facebook : https://www.facebook.com/CHOBAcct

Tiktok : https://www.tiktok.com/@chobaccouting_online

Youtube : https://www.youtube.com/@ChobAccounting

สำนักงานตั้งอยู่ที่ บริษัท ชอบการบัญชี จำกัด เลขที่ 517/89

ถนน มิตรภาพ-หนองคาย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง นครราชสีมา 30000

เปิดทำการทุกวันจันทร์ – วันเสาร์

เวลา 08.00 – 17.00 น.

( หยุดวันอาทิตย์และนักขัตฤกษ์ )

ใครมีหน้าที่ยื่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ทีมนักบัญชีมืออาชีพ พร้อมให้คำปรึกษา

ผู้มีหน้าที่เสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาโดยมีสถานะ อย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้

        1)   บุคคลธรรมดา
        2)   ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
        3)   ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
        4)   กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
        5)  วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

เมื่อมีเงินได้เกิดขึ้นแล้ว กรณีเป็นผู้มีเงินได้ที่ไม่มีเลขประจำตัวประชาชน ได้แก่ เป็นคนต่างด้าว หรือกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องขอมีเลข และบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีเงินได้เกิดขึ้น แต่สำหรับผู้มีเงินได้ที่มีเลขประจำตัวประชาชน สามารถใช้เลขประจำตัวประชาชน แทนเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรได้ โดยไม่ต้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรอีก

     ผู้มีเงินได้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร สามารถยื่นคำร้อง ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ กรุงเทพมหานครทั้ง 30 แห่ง หรือสำนักสรรพากรพื้นที่ สาขา (อำเภอ) ทุกแห่ง สำหรับในต่างจังหวัด ยื่นคำขอได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ (จังหวัด) และสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (อำเภอ) ทุกแห่ง แล้วแต่กรณี โดยยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี ภายในวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดจากปีที่มีเงิน เว้นแต่เงินได้บางกรณี เช่น การให้เช่า ทรัพย์สิน เงินได้จาก วิชาชีพอิสระ เงินได้จาก การรับเหมา เงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ เป็นต้น กฎหมายยังกำหนดให้ยื่นแบบฯ เสียภาษีตอนครึ่งปี สำหรับรายได้ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงครึ่งปีแรก เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีที่ต้องชำระ และเงินได้บางกรณี กฎหมายยังกำหนดให้ ผู้จ่ายทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย จากเงินได้ที่จ่าย เพื่อให้มีการทยอยชำระภาษีด้วย

     ปัจจุบัน กรมสรรพากร ยังสามารถกำหนดให้ยื่นแบบแสดงรายการและชำระ ณ ที่ ทำการไปรษณีย์ เฉพาะที่มีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานคร เท่านั้น โดยส่งทางไปรษณีย์ ลงทะเบียนพร้อมแนบเช็ก หรือธนาณัติ ตาม จำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระทั้งจำนวน ภายในกำหนดเวลาการยื่นแบบฯ และสามารถยื่นทางออนไลน์ได้แล้ว ทาง www.rd.go.th หรือทาง RD Smart Tax Application ทางโทรศัพท์มือถือ

ที่มา : https://www.rd.go.th/548.html

#ภาษี #ภาษีเงินได้ #บุคคลธรรมดา #ยื่นภาษี #ยื่นภาษีออนไลน์

ทางสำนักงานบัญชีคุณภาพ เรามีบริการดูแลคุณลูกค้าทางด้านบัญชีและภาษีแบบครบวงจร

รับทำบัญชี และยื่นภาษี/รายเดือน

รับจดทะเบียนบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทะเบียนพาณิชย์

แก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารของธุรกิจ

ปิดงบการเงินประจำปี

ตรวจสอบบัญชี

ให้คำปรึกษาและวิเคราะห์วางแผนทางด้านบัญชี และภาษีอากร

สอบถามข้อมูลและขอรับคำปรึกษาได้ที่

Inbox : m.me/ChobAccounting

โทร: 094-1594561, 098-8896262

เว็บไซต์: https://chobaccounting.co.th/

Line OA: @chobaccounting

หรือ คลิ๊ก https://lin.ee/VY2jgnO

Facebook : https://www.facebook.com/CHOBAcct

Tiktok : https://www.tiktok.com/@chobaccouting_online

Youtube : https://www.youtube.com/@ChobAccounting

สำนักงานตั้งอยู่ที่ บริษัท ชอบการบัญชี จำกัด เลขที่ 517/89

ถนน มิตรภาพ-หนองคาย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง นครราชสีมา 30000

เปิดทำการทุกวันจันทร์ – วันเสาร์

เวลา 08.00 – 17.00 น.

( หยุดวันอาทิตย์และนักขัตฤกษ์ )

ความหมายของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา?

ชายหญิงสองคนสวมชุดทำงาน กำลังครุ่นคิดกับคำถามมากมาย

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนด และมีรายได้เกิดขึ้น ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ 

ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเอง ตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนด ภายในเดือนมกราคม ถึงมีนาคมของปีถัดไป สำหรับผู้มีเงินได้บางกรณีกฎหมายยังกำหนดให้ยื่นแบบฯ เสียภาษีตอนครึ่งปี สำหรับรายได้ ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงครึ่งปีแรก เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษี ที่ต้องชำระ และเงินได้บางกรณี กฎหมายกำหนดให้ ผู้จ่ายทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ที่จ่ายบางส่วน เพื่อให้มีการทยอยชำระภาษี ขณะที่มีเงินได้เกิดขึ้นอีกด้วย

ที่มา :: https://www.rd.go.th/27860.html

#ภาษี #ภาษีเงินได้ #บุคคลธรรมดา #ยื่นภาษี #ยื่นภาษีออนไลน์

ทางสำนักงานบัญชีคุณภาพ เรามีบริการดูแลคุณลูกค้าทางด้านบัญชีและภาษีแบบครบวงจร

รับทำบัญชี และยื่นภาษี/รายเดือน

รับจดทะเบียนบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทะเบียนพาณิชย์

แก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารของธุรกิจ

ปิดงบการเงินประจำปี

ตรวจสอบบัญชี

ให้คำปรึกษาและวิเคราะห์วางแผนทางด้านบัญชี และภาษีอากร

สอบถามข้อมูลและขอรับคำปรึกษาได้ที่

Inbox : m.me/ChobAccounting

โทร: 094-1594561, 098-8896262

เว็บไซต์: https://chobaccounting.co.th/

Line OA: @chobaccounting

หรือ คลิ๊ก https://lin.ee/VY2jgnO

Facebook : https://www.facebook.com/CHOBAcct

Tiktok : https://www.tiktok.com/@chobaccouting_online

Youtube : https://www.youtube.com/@ChobAccounting

สำนักงานตั้งอยู่ที่ บริษัท ชอบการบัญชี จำกัด เลขที่ 517/89

ถนน มิตรภาพ-หนองคาย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง นครราชสีมา 30000

เปิดทำการทุกวันจันทร์ – วันเสาร์

เวลา 08.00 – 17.00 น.

( หยุดวันอาทิตย์และนักขัตฤกษ์ )